วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
โรคไตวายเรื้อรัง จากเบาหวาน
mukura
บทความสุขภาพ, เบาหวาน, โรคไต, โรคไตวายเรื้อรัง
เราไม่ทราบว่าเบาหวานทำให้เกิดการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ
(กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กรวยไตอักเสบ) เพิ่มขึ้นหรือไม่ แต่ภาวะ แทรกซ้อนของการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะมักจะมีความรุนแรง ขึ้น เช่น เกิดฝีที่ไต หรือติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด ขณะที่การทำงานของไต เสื่อมลง ผู้ป่วยเบาหวานบางคนอาจมีการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ ซ้ำซากที่ยากต่อการรักษา อาการของการติดเชื้อ ได้แก่ ไข้ปัสสาวะแสบขัด เบื่ออาหารหลังจากผู้ป่วยเริ่มมีอาการบวมเนื่องจากระดับอัลบูมินในเลือดต่ำ ผู้ป่วยจะเริ่มมีการทำงานของไตเสื่อม และจะเริ่มมีอาการของไตวาย เช่น เบื่ออาหาร อ่อนเพลียง่าย กล้ามเนื้อเป็นตะคริว ทนหนาวไม่ได้ คันตามตัว ผิวหนังเกิดจ้ำเลือดได้ง่าย คลื่นไส้อาเจียน เลือดออกตามไรฟันหรือทางทวาร ไม่มีสมาธิ นอนไม่หลับหรือนอนหลับ เวลากลางวันแต่ตื่นเวลากลางคืน ถ้าเทียบโรคไตวายในระดับเดียวกัน ผู้ป่วยไตวาย ที่เกิดจากโรคเบาหวานจะมีอาการมากกว่าผู้ป่วยไตวายจากสาเหตุอื่น
การชะลอการดำเนินโรคของโรคไตวาย
1.ควบคุมความดันโลหิตให้เป็นปกติ
เป็นที่แน่ชัดว่าความดันโลหิตสูงจะเป็นอันตรายต่อไต ตา หัวใจ และ สมอง ผู้ป่วยเบาหวานทุกคนควรได้รับการรักษาความดันโลหิตสูง จนกระทั่งกลับสู่ระดับปกติ
2. ความคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ
ผู้ป่วยที่ใช้อินซูลินมักมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงและต่ำ แกว่งขึ้นลง การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างเข้มงวดสามารถชะลอการเกิด ผลแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้
3. ลดอาหารโปรตีนลง
ในคนปกติการรับประทานอาหารโปรตีนสูงจะทำให้ไตทำงานมากขึ้น ทำให้หน่วยไตเสื่อมลงเร็ว ดังนั้นการจำกัดอาหารโปรตีนสูงอาจช่วย ให้ผู้ที่เริ่มมีการทำงานของไตเสื่อม เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน มีความเสื่อมของไตช้าลง
ข้อมูลดีๆ จากศูนย์ไตเทียมโรงพยาบาลไทยนครินทร์