วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ผู้ป่วยโรคไต ควรทานอาหารอะไรดีที่เป็นประโยชน์ มาดูกัน

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต

ไต เป็นอวัยวะรูปร่างคล้ายถั่วเหลือง ยาว 12 เซนติเมตร หนัก 120-150 กรัม อยู่ด้านหลังของกระดูก

สันหลังบริเวณบั้นเอว ไตมีความสำคัญต่อร่างกายมาก โดยมีหน้าที่ดังนี้
ขับถ่ายของเสีย สารพิษ สิ่งแปลกปลอมต่างๆ
ดูดซึมสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายคืนเข้าสู่กระแสเลือด
รักษาความเป็นกรด ด่าง เกลือ และน้ำ ให้อยู่ในสภาวะสมดุลย์

ไตสร้างสารอีรีโธปัวอีติน (ERYTHROPOIETIN) ซึ่งจะไปช่วยกระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดแดง ไตช่วยเปลี่ยนวิตะมินดีให้มีประสิทธิภาพในร่างกาย อาหารบำบัดผู้ป่วยโรคไตมีความสำคัญมากเพราะหาก ผู้ป่วยสามารถปฎิบัติเรื่อ งอาหารได้ถูกต้องก็จะช่วยให้การรักษาด้วยยามีประสิทธิภาพ หรือการไปล้างไต ก็ไม่ต้องไปบ่อยนัก โรคไตเป็นโรคที่มีความซับซ้อนอย่างมาก ผู้ป่วยควรจะรับประทานอาหารที่มีปริมาณสาร อาหารมากน้อยเท่าใดนั้น แพทย์เท่านั้นจะต้องเป็นผู้กำหนด ซึ่งอาจจะต้องเปลี่ยนอาหารตามสภาวะ และความรุนแรงของโรค ผู้ป่วยจึงควรไปพบแพทย์เป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ

สารอาหารที่ต้องควบคุมสำหรับผู้ป่วยโรคไต มี 4 ตัวดังนี้

1. โปรตีน ได้แก่ อาหารพวกเนื้อสัตว์ต่าง ๆ นม ไข่ เต้าหู้ ถั่วเมล็ดแห้ง เป็นต้น ในคนปกติควรได้โปรตีน โดยเฉลี่ย 45-70 กรัม/วัน ต้องจำกัด เมื่อผู้ป่วยมีสารยูเรียคั่งในเลือด อาจต้องลดโปรตีนลงเหลือวันละ 20-40 กรัม ฉะนั้นโปรตีนจึงควรเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพดี ซึ่งได้แก่ นม ไข่ เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ชีส (เนยแข็ง)

ปริมาณอาหารต่อไปนี้ แต่ละอย่างจะมีโปรตีน 7 กรัม
- ไข่ไก่ 1 ฟอง
- นมสด 200 ซีซี. ( 1 ถ้วยตวงเท่ากับ 240 ซีซี)
- เนื้อสัตว์ต่าง ๆ 30 กรัม- เต้าหู้เหลือง, แข็ง 1/2 ชิ้น (60 กรัม)
- เต้าหู้ขาว 1/2 ชิ้น (100 กรัม)
- เต้าฮวย 200 กรัม
- ถั่วเมล็ดแห้ง 1/2 ถ้วยตวง

เช่น ต้องจำกัดโปรตีนวันละ 21 กรัม ผู้ป่วยก็สามารถรับประทานไข่ 1 ฟอง เนื้อปลา 30 กรัม และนมสด 1 แก้ว ก็จะได้โปรตีน 21-22 กรัมในหนึ่งวัน หรือจะแบ่งอย่างไรก็ได้เมื่อรวมแล้วขอให้ ได้โปรตีน 21 กรัม และแบ่งรับประทาน 3 มื้อ ต้องได้มาก เมื่อไตปล่อยไข่ขาว [ALBUMIN] ออกในปัสสาวะมาก แพทย์อาจสั่งให้รับประทานโปรตีนมากถึงวันละ 70 - 120 กรัม

2.โซเดียม มีมากในอาหาร พวกเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะพวกอาหารทะเล เกลือแกง อาหารที่ใช้เกลือในการถนอมอาหาร เช่น ไข่เค็ม ผักดองเค็ม ผลไม้ดองเค็ม เต้าเจี้ยว เป็นต้น และยังเป็นส่วนประกอบของผงชูรส ผงฟู ต้องจำกัด เมื่อไตไม่สามารถขับถ่ายโซเดียมได้ตามปกติ จะเกิดอาการตัวบวม ผู้ป่วยต้องงดอาหารพวกหมักดอง เกลือ อาจปรุงแต่งอาหารด้วยมะนาว น้ำตาล พริก เครื่องเทศต่าง ๆ ต้องได้มาก เมื่อไตขับโซเดียมออกทางปัสสาวะมาก จนตัวแห้งลีบ แนะนำให้เติมเกลือแกงในอาหารมาก ๆ

3น้ำ ต้องจำกัด เมื่อไตล้มเหลว ขับถ่ายปัสสาวะได้น้อยมากหรือไม่ได้ มีอาการตัวบวม ความดันโลหิตสูง ปริมาณน้ำที่ได้ต้องจำกัดให้เท่ากับ ปริมาณปัสสาวะใน 24 ชั่วโมงบวก 500 ซีซี ปริมาณนี้จะหมายถึงปริมาณน้ำที่ได้จากอาหารที่รับประทานและจากน้ำดื่มรวมกัน ต้องได้มาก เมื่อไตขับถ่ายโซเดียมออกทางปัสสาวะมาก มีอาการตัวแห้ง นอกจากต้องได้น้ำเพิ่มขึ้นแล้ว (ในคนปกติควรได้น้ำวันละ 8 แก้ว) ยังต้องได้เกลือเพิ่มด้วย

4.โปตัสเซียม มีในอาหารแทบทุกชนิด ต้องจำกัด เมื่อไตล้มเหลว ปัสสาวะไม่ได้ หรือปัสสาวะวันละ 500 ซีซี หรือน้อยกว่าในทางปฎิบัติผู้ป่วยสามารถรับประทานข้าว แป้ง ก๋วยเตี๋ยว ไขมัน ได้ตามต้องการ ควรงด ผลไม้และหลีกเลี่ยง ผักที่มีสีเข้ม ผักที่มีสีอ่อนจะมีโปตัสเซียมน้อยกว่าผักที่มีสีเข้ม ต้องได้มาก เมื่อสูญเสียโปตัสเซียม เช่น เมื่อใช้ยาขับปัสสาวะ

การป้องกันโรคไต

ไตนั้นโดยธรรมชาติก็จะค่อย ๆ เสื่อมสภาพไปตามอายุ ถ้าเรารู้จักระวังดูแลชลอการเสื่อมได้ การรับประทานอาหารพวกเนื้อสัตว์ แต่พอควร และการดื่มน้ำสะอาดวันละ 8-10 แก้ว ก็จะช่วยไตให้ทำงานลดลง โรคไตนั้นบางโรคก็ป้องกันได้ บางโรคก็ป้องกันไม่ได้ อย่างไรก็ตามวิธีการ

ป้องกันโรคบางชนิด ที่เราจะทำได้ มีดังนี้

หลีกเลี่ยง ยา และสารพิษต่าง ๆ ต่อไปนี้ ซึ่งจะเป็นพิษต่อไต- ยาซัลฟา จะไปตกตะกอนที่ไตได้ ทำให้เกิดไตวายได้- ยาปฏิชีวนะ เช่น เจนตามัยซิน คานามัยซิน- ยาที่เข้าพวกโลหะหนัก พวกเงิน ทอง ปรอท ตะกั่ว สารหนู- ยาลดไข้หรือยาแก้ปวด ถ้ารับประทานเป็นประจำนาน ๆ ไตจะเสื่อมสมรรถภาพจนเป็นไตวายได้- เฮโรอีน ยากันชัก พิษงู พิษเห็ดเมา ทำให้ไตวายได้

การกลั้นปัสสาวะนาน ๆ หรือการสวนปัสสาวะ จึงทำให้เชื้อเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ และเกิดการอักเสบได้

เมื่อเป็นหวัด เจ็บคอ หรือเกิดอักเสบที่ผิวหนัง ควรรีบรักษาให้หาย เพราะจะเกิดปฏิกิริยาที่ไตได้ทำให้เกิดโรคไตบางชนิดได้

โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงจากสาเหตุต่าง ๆ ควรรีบรักษาและได้รับการดูแลจากแพทย์ เพราะจะทำให้เกิดโรคไตได้

ข้อมูลดีๆจาก ศูนย์ไตเทียมโรงพยาบาลไทยนครินทร์

ป้ายกำกับ

รวมบทความสุขภาพ เกร็ดความรู้และเคล็ดลับสุขภาพ ข้อมูลโดยแพทย์และโรงพยาบาลต่างๆ

Recent Posts

Categories

Text Widget

health and care 2day รวมบทความสุขภาพ เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพ การดูแลรักษาสุขภาพ สาระน่ารู้เรื่องสุขภาพ เพื่อคนรักสุขภาพอย่างคุณ

Blog Archive