วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด เป็นอันตรายหรือไม่ การรักษาทำอย่างไร

ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด
ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด

เด็กเกิดใหม่ส่วนมากจะตัวเหลือง ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดมีทั้งตัวเหลืองมาก และตัวเหลือง ไม่มาก เด็กบางคนอาจต้องได้รับการส่องไฟรักษา เนื่องจากมีระดับตัวเหลืองที่สูงกว่าปกติ คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองคงต้องเกิดคำถามขึ้นมาว่าแล้วตัวเหลืองเกิดจากอะไร รู้ได้อย่างไรว่าลูกตัวเหลือง ภาวะตัวเหลือง เป็นอันตรายหรือไม่ การรักษาทำอย่างไร นมแม่ทำให้ลูกตัวเหลืองหรือไม่

สาเหตุที่ทำให้เด็กตัวเหลือง

สีผิวในเด็กที่เหลืองขึ้นเกิดจากการแตกของเม็ดเลือดแดง ทำให้เกิดสารสีเหลืองที่เรียกว่า “บิลิรูบิน” สารนี้จะอยู่ในกระแสเลือดไปทีตับ อาศัยเอนไซน์ในตับช่วยเปลี่ยนแปลงตามขั้นตอน ก่อนที่จะลงไป ในลำไส้ และขับถ่ายออกมาทางอุจจาระและปัสสาวะ ดังนั้นหากมีภาวะที่มีผลในขั้นตอนใด ๆ ของการกำจัด บิลิรูบินก็ทำให้ทารกตัวเหลืองมากกว่าปกติ

A ภาวะเม็ดเลือดแดงแตกปกติในทารกแรกเกิด พบได้ในทารกทุกคนทำให้ทารกตัวเหลือง เล็กน้อยไม่จำเป็นต้องได้รับการส่องไฟมักเหลืองเมื่ออายุ 3-5 วันแล้วจะค่อยๆเหลืองน้อยลง ภาวะนี้เกิดเนื่องจาก

1. เด็กมีเม็ดเลือดแดงมากกว่าผู้ใหญ่ เด็กมีความเข้มข้นของเลือด 50-60 % ขณะที่ผู้ใหญ่มีความ เข้มข้นของเลือด 33-40 % เมื่อเม็ดเลือดครบอายุก็จะแตก

2. เม็ดเลือดแดงในเด็กมีอายุ 90 วัน ผู้ใหญ่ 120 วัน ดังนั้นเม็ดเลือดแดงจึงอายุสั้นกว่า การแตกจึง มากกว่าเมื่อรวมทั้ง 2 ข้อข้างต้นเป็นสาเหตุของตัวเหลืองในทารกแรกเกิด

B ภาวะตัวเหลืองที่ต้องได้รับการรักษา ถ้ามีภาวะที่มีผลต่อ บิลิรูบินในขั้นตอนต่างๆจะทำให้ทารก มีภาวะตัวเหลืองมากกว่าปกติคือ

1. มีการทำลายเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ สาเหตุมีหลายอย่างเช่น เด็กที่คลอดโดยใช้เครื่องดูดช่วย คลอดจะมีเลือดออกใต้หนังศีรษะเลือดส่วนนี้ทำให้มีเม็ดเลือดแดงที่แตกเพิ่มขึ้น, เม็ดเลือดแดงแตก มากเนื่องจากกรุ๊ปเลือดแม่และลูกไม่ตรงกันพบในแม่เลือดกรุ๊ป O และลูกเป็น กรุ๊ป A หรือ B และภาวะเม็ดเลือดแดงแตกมาก เนื่องจากโรคเลือดคือ โรคทาลัสซีเมีย, โรคขาดเอนไซน์ G6PD ในเม็ดเลือดแดง

2. การทำงานของตับยังไม่สมบูรณ์หรือโรคกรรมพันธุ์บางอย่างของตับ

3. ความผิดปกติที่ลำไส้เช่นภาวะลำไส้อุดตัน ทำให้มีการดูดซึม บิลิรูบินกลับเข้ากระแสเลือดแทนที่ จะขับถ่ายออกไปเด็กจึงตัวเหลือง

การวินิจฉัยโรคตัวเหลือง

1. การสังเกตุสีผิว เด็กจะเริ่มเหลืองที่ใบหน้าก่อน แล้วค่อยค่อยไล่ลงมาที่ลลำตัวไปขาและเท้า ถ้าเหลืองเฉพาะใบหน้าและลำตัว ถือว่าเหลืองไม่มากแต่ถ้าลงมาขาและเท้าถือว่าเหลืองมาก เวลาดูตัวเหลืองในเด็กทารกต้องกดผิวหนังลงดูที่ส่วนที่กดจะเห็นเป็นสีเหลือง เหตุที่ต้องกดผิวหนัง ลงเพราะเด็กตัวแดงทำให้ดูยาก ถ้าดูแล้วเห็นว่าเหลืองไม่มากไม่จำเป็นต้องตรวจเลือด แต่ถ้าเหลือง มากต้องเจาะเลือดตรวจ

2. การเจาะเลือดตรวจระดับตัวเหลือง หรือตรวจระดับบิลิรูบินในเลือด ถ้าระดับสูงต้องรักษา โดยการส่องไฟการเจาะเลือดนี้ สามารถเจาะจากส้นเท้าหรือเจาะจากเส้นเลือดโดยตรง

การส่องไฟ (phototherapy)

เป็นการรักษาภาวะตัวเหลืองในเด็กทารก เนื่องจากแสงสามารถ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ โครงสร้างของโมเลกุลของบิลิรูบิน ซึ่งปกติละลายน้ำไม่ได้ให้กลับกลายมาเป็นสารที่ละลายน้ำได้ สามารถ ขับถ่ายสารนี้ได้ทางปัสสาวะและทางอุจจาระโดยออกมาทางน้ำดี หลังจากส่องไฟจะตรวจระดับตัวเหลือง วันละ1-2 ครั้งถ้าระดับบิลิรูบินลงมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ สามารถหยุดส่องไฟได้

การส่องไฟทำให้เกิดภาวะเหล่านี้ในทารก

ก. ทารกอาจจะมีสีผิวคล้ำขึ้นจากการที่ต้องถูกแสงอัลตราไวโอเลตเป็นเวลานาน

. ทารกอาจถ่ายเหลวจากการที่แสงที่ใช้ในการรักษา ทำให้มีการบาดเจ็บของเยื่อบุลำไส้ ทำให้มี การขาด enzyme lactase เป็นการชั่วคราว และจะดีขึ้นเมื่อหยุดการรักษา

ค. ทารกมีภาวะเสียน้ำมากจากการระเหยของน้ำ เพราะว่าอุณหภูมิรอบตัวของทารกสูงขึ้น จึงจะต้อง มีการทดแทนโดยให้ดื่มน้ำมากขึ้นกว่าเดิม หรือโดยการให้สารน้ำทางหลอดเลือด

ง. ทารกอาจมีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติหรือเป็นไข้ อาจต้องเลื่อนไปให้ห่างทารก

จ. ทารกอาจมีผื่นแดงขึ้นตามตัวเป็นการชั่วคราว

ฉ. ถ้าไม่ได้ปิดตาทารกให้มิดชิด อาจมีการบาดเจ็บเนื่องจากถูกแสงส่องนาน ดังนั้นการดูแลทารก ในช่วงที่รับการส่องไฟ ก็ควรจะปิดตาทารกให้มิดชิดเพื่อป้องกันอันตรายของแสงไฟสู่ดวงตาเด็ก ควรให้ทารกดูดนมมาก ๆ และบ่อย ๆ เพื่องดการเสียน้ำและเพิ่มการถ่ายอุจจาระ ถ้าทารกดูดหรือ รับนม ไม่ได้หรือไม่ได้ดีก็ควรจะให้น้ำเกลือทางเส้นเลือด โดยต้องเพิ่มปริมาณน้ำอีก 30 % ของ ปริมาณปกติในแต่ละวัน

นมแม่ทำให้ลูกตัวเหลืองได้หรือไม่

ในนำนมแม่มีสารบางอย่างที่อาจทำให้ลูกตัวเหลืองได้ แต่ภาวะตัวเหลืองที่เกิดจากนมแม่นั้นไม่ทำให้ ลูกมีอันตราย แต่ถ้าตัวเหลืองมากจริงๆ อาจต้องได้รับการส่องไฟรักษาเช่นเดียวกัน แพทย์อาจให้งดนมแม่ 2 วัน ช่วงเด็กส่องไฟ หลังจากนั้นสามารถให้นมแม่ได้ตามปกติลูกจะไม่กลับมาตัวเหลืองอีก

ภาวะตัวเหลืองมากมีอันตรายหรือไม่

ภาวะที่มีระดับ บิลิรูบินสูงมากเกินไปสารนี้สามารถเข้าไปที่สมองลูกได้ ถ้าระดับบิลิรูบินสูงมากทำให้ เด็กมีอาการทางสมองจากภาวะตัวเหลืองได้(ภาษาอังกฤษเรียกว่า KERNICTERUS) และถ้าบิลิรูบินสูงเกิน 20 อาจมีผลต่อการได้ยินของเด็กได้เหตุผลเหล่านี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องให้ความสนใจและรักษาภาวะ ตัวเหลืองในทารกแรกเกิด

ข้อมูลจากเว็บ โรงพยาบาลไทยนครินทร์

ป้ายกำกับ

รวมบทความสุขภาพ เกร็ดความรู้และเคล็ดลับสุขภาพ ข้อมูลโดยแพทย์และโรงพยาบาลต่างๆ

Recent Posts

Categories

Text Widget

health and care 2day รวมบทความสุขภาพ เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพ การดูแลรักษาสุขภาพ สาระน่ารู้เรื่องสุขภาพ เพื่อคนรักสุขภาพอย่างคุณ

Blog Archive