วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

โรคกรดไหลย้อนคืออะไร และสาเหตุมาจากไหน

โรคกรดไหลย้อนคืออะไร และสาเหตุมาจากไหน
โรคกรดไหลย้อนคืออะไร และสาเหตุมาจากไหน

โรคกรดไหลย้อนคืออะไร

โรคกรดไหลย้อน เป็นความผิดปกติที่กรดจากกระเพาะอาหารหรือน้ำย่อยจากลำไส้เล็ก ไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการแสบยอดอก หรือมีเรอเปรี้ยวร่วมด้วย ในบางรายอาจมีความรู้สึกเหมือนมีกรดหรือน้ำย่อยรสเปรี้ยวหรือขมไหลย้อนขึ้นมาที่คอหรือที่ปาก ถ้าเป็นรุนแรงอาจทำให้เกิดหลอดอาหารอักเสบ แผลในหลอดอาหาร หลอดอาหารส่วนปลายตีบ หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงจนถึงขั้นเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้

สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน

· การที่กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนปลายคลายตัว โดยไม่สัมพันธ์กับการกลืน ทำให้กรดและน้ำย่อยในกระเพาะอาหารสามารถ ไหลย้อนกลับขึ้นไปสู่บริเวณหลอดอาหารได้

· กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนปลายมีความดันลดลงกว่าคนปกติ หรือเกิดมีการเลื่อนของกระเพาะอาหารเข้าไปในหลอดอาหาร ทำให้เพิ่มโอกาสการไหลย้อนของกรดจากกระเพาะอาหารมากขึ้น

· เกิดจากความผิดปกติในการบีบตัวของกระเพาะอาหารหรือหลอดอาหารเอง

· อาจมีปัจจัยทางพันธุกรรมเกี่ยวข้องด้วย

อาการของโรคกรดไหลย้อน

ในปัจจุบันแบ่งอาการกรดไหลย้อนได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

1. อาการที่เกิดขึ้นกับกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร

แสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ ลามมาที่บริเวณหน้าอกหรือคอ มักเป็นมากขึ้นหลังทานอาหารมื้อหนัก อาการสำคัญอีกแบบหนึ่งคือเรอเปรี้ยว ผู้ป่วยจะรู้สึกว่ามีกรดซึ่งเป็นน้ำรสเปรี้ยวหรือขมไหลย้อนจากคอขึ้นมาในปาก ผู้ป่วยอาจมีอาการใดอาการหนึ่งหรือทั้ง 2 อาการ อาการอื่นๆ ที่อาจพบได้ เช่น ท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน หรือกลืนลำบาก

2. อาการนอกหลอดอาหาร แบ่งได้เป็นอาการตามระบบต่างๆ ดังนี้

2.1 อาการคล้ายโรคหัวใจ ผู้ป่วยจะเจ็บหรือแน่นหน้าอกรุนแรงแบบเดียวกับผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด กรณีนี้ผู้ป่วยควรได้รับการ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่างละเอียดก่อน หากไม่พบความผิดปกติจึงค่อยตรวจหากรดไหลย้อน

2.2 อาการทางปอด อาจมีหอบหืด ไอเรื้อรัง ปอดอักเสบเรื้อรัง นอนกรน หรือหยุดหายใจขณะนอนหลับ

2.3 อาการทางหู คอ จมูก เช่น จุกแน่นในคอคล้ายมีอะไรติดหรือขวางอยู่บริเวณลำคอ เจ็บคอเรื้อรัง เสมหะ ฟันผุ มีกลิ่นปากโดยหา สาเหตุไม่ได้

การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน

· หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ดื่มน้ำชา กาแฟ น้ำอัดลม น้ำผลไม้ หรืออาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด เผ็ดจัด อาหารไขมันสูง

· ระวังไม่ให้น้ำหนักตัวมากเกินไป

· ควรรับประทานอาหารปริมาณน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง

· ไม่รับประทานอาหารมื้อเย็นในปริมาณมาก และไม่ควรนอนทันทีหลังรับประทาน ควรเว้นระยะอย่างน้อย 3 ชั่วโมง

· ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

· นอนตะแคงซ้ายและนอนหนุนหัวเตียงให้สูง

ข้อมูลดีๆจาก ศูนย์ทางเดินอาหาร รพ.ไทยนครินทร์

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับกระเพาะอาหาร และอาการของโรคแผลในกระเพาะอาหาร

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับกระเพาะอาหาร และอาการของโรคแผลในกระเพาะอาหาร
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับกระเพาะอาหาร 

สาเหตุการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร

โรคแผลในกระเพาะอาหารเกิดจาก กรดและน้ำย่อยที่สร้างมาในกระเพาะอาหารเกิดการทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้ผิวกระเพาะอาหารบวม อักเสบ หรือเกิดแผลขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่เป็นสาเหตุให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร เช่น ยาแอสไพริน ยารักษาโรคกระดูกและข้อ ความเครียด อาหารรสจัด บุหรี่ สุรา ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะอาหาร เกิดการอักเสบเรื้อรัง และนำไปสู่การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้นในที่สุด

อาการของผู้ที่เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร

· ปวดหรือจุกแน่นบริเวณลิ้นปี่ หรือช่องท้องส่วนบน ในช่วงท้องว่าง เป็นๆ หายๆ เรื้อรังนานเป็นปี แต่จะมีช่วงเว้นที่ปลอด อาการ เช่น ปวดอยู่ 1-2 สัปดาห์ และหายไปหลายๆ เดือนจึงกลับมาปวดอีกครั้ง

· ปวดมากหลังทานอาหาร โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหารรสเผ็ดหรือเปรี้ยวจัด บางรายมีอาการปวดแน่นท้องกลางดึก หลังจากนอนหลับไปแล้ว จนต้องตื่นขึ้นมากลางดึก

· รู้สึกไม่สบายในท้อง แน่นท้อง บริเวณกลางท้องรอบสะดือ โดยมากมักมีท้องอืดร่วมด้วย หลังทานอาหารจะมีลมในท้อง มาก อาจมีคลื่นไส้อาเจียนหลังอาหารแต่ละมื้อ หรือในช่วงเช้ามืด ทานน้อย อิ่มง่ายกว่าปกติ

หลักการรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร

· รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ก๋วยเตี๋ยวน้ำ

· แบ่งอาหารเป็นมื้อย่อยๆ ในปริมาณน้อย ไม่ควรรับประทานจนอิ่มมากในแต่ละมื้อ

· หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด อาหารมัน ของหมักดอง น้ำอัดลม ชา กาแฟ

· งดสูบบุหรี่และดื่มสุรา งดการใช้ยาแก้ปวดแอสไพริน และยาแก้ปวดโรคกระดูกและข้ออักเสบทุกชนิด ในกรณีที่มีโรคประจำตัวและ จำเป็นต้องใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์ระบบทางเดินอาหารก่อนทุกครั้ง เพื่อรับยาป้องกันโรคกระเพาะอาหารที่เหมาะสม

· หลีกเลี่ยงความเครียดและความกังวล พักผ่อนให้เพียงพอ

· รับประทานยาลดกรด หรือยารักษาแผลกระเพาะอาหารติดต่อกันอย่างน้อย 4-8 สัปดาห์

· หากมีอาการของภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ปวดท้องรุนแรง ซีด อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง ควรปรึกษา แพทย์ระบบทางเดินอาหารทันที

ข้อมูลดีๆจาก ศูนย์ทางเดินอาหาร รพ.ไทยนครินทร์

การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) และการเตรียมตัว

ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)
ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) 

การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)

การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ทำได้โดย แพทย์ใช้กล้องพิเศษซึ่งเป็นท่อยาวขนาดเล็กสอดทางทวารหนักผ่านเข้าไปในลำไส้ใหญ่ ซึ่งจะสามารถเห็นรายละเอียดต่างๆ ได้ตลอดทั้งลำไส้ใหญ่ ในกรณีที่พบความผิดปกติ เช่น ติ่งเนื้อ เนื้องอก หรือเนื้อผิดปกติต่างๆ แพทย์สามารถตัดชิ้นเนื้อนั้นออกมาตรวจได้โดยตรง สำหรับกรณีที่มีติ่งเนื้อหรือเนื้องอกที่เป็นจุดเริ่มต้นของมะเร็ง หลังจากการส่องกล้องและตัดออกแล้วจะสามารถหายสนิทโดยไม่ต้องผ่าตัดซ้ำ นอกจากนี้ ชิ้นเนื้อที่ผิดปกติควรต้องส่งตรวจทางพยาธิวิทยาเพื่อยืนยันว่าเป็นเนื้องอกหรือมะเร็ง ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานในปัจจุบัน

การเตรียมตัวก่อนการส่องกล้อง

หนึ่งวันก่อนส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ ผู้ป่วยต้องทานอาหารอ่อน งดผัก ผลไม้ ยาบำรุงเลือด ยาแก้ท้องเสีย ผู้ป่วยจะได้รับยาระบายรับประทานเพื่อทำความสะอาดลำไส้ทั้งหมด ขณะแพทย์ทำการส่องกล้องจะได้เห็นลักษณะพื้นผิวของลำไส้อย่างชัดเจน หลังทานยาระบาย ผู้ป่วยอาจมีถ่ายเหลวได้เฉลี่ย 6-8 ครั้ง หากถ่ายมากเกินไปและมีอาการอ่อนเพลียสามารถดื่มน้ำเกลือแร่ทดแทนได้ แต่ในบางรายที่ถ่ายท้องมากเกินไปและเพลียมากอาจให้น้ำเกลือทางเส้นเลือดเพื่อลดอาการอ่อนเพลีย

ก่อนทำการส่องกล้องผู้ป่วยจะได้รับการฉีดยานอนหลับและยาลดอาการปวด เพื่อลดความรู้สึกตึงแน่นในท้องจากการเป่าลมเข้าไปเพื่อให้ลำไส้ขยายตัวออกเหมือนลูกโป่งที่พองตัว แพทย์จะได้เห็นความผิดปกติภายในได้อย่างละเอียด ใช้ระยะเวลาในการทำโดยเฉลี่ย 15-30 นาที

ความรู้สึกหลังส่องกล้อง

เมื่อประสิทธิภาพของยานอนหลับหมดลง ผู้ป่วยจะค่อยๆ รู้สึกตัว อาจรู้สึกเวียนหัว ตาลาย หรือหน้ามืด ผู้ป่วยควรนอนพักผ่อนให้สบายจนรู้สึกตัวดี ในกรณีที่ต้องการลุกขึ้นหรือเปลี่ยนท่าทาง ควรเปลี่ยนอย่างช้าๆ เป็นขั้นตอน จากนอนเป็นนั่ง จากนั่งเป็นยืน และจากยืนเป็นเดิน เพื่อให้ร่างกายค่อยๆ ปรับสู่สมดุล

ในช่วงระยะ 2-3 ชั่วโมงแรกหลังการส่องกล้อง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะสามารถรับประทานอาหาร กลับบ้าน หรือปฏิบัติภารกิจได้ตามปกติ โดยอาจยังรู้สึกแน่นท้อง มีลมในท้อง เป็นผลจากลมที่ขยายลำไส้ระหว่างการส่องกล้อง ซึ่งสามารถระบายออกได้เองตามธรรมชาติด้วยการเรอหรือผายลม จัดเป็นภาวะปกติหลังการส่องกล้อง ผู้ป่วยไม่ควรกลั้นลมไว้ เพราะอาจทำให้ท้องอืดหรือปวดเกร็งท้อง ในกรณีที่มีอาการมากอาจทานยาขับลมร่วมด้วยได้ อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยมีอาการปวดท้องรุนแรง ถ่ายเป็นเลือด หรือมีไข้ขึ้นสูงหลังการส่องกล้องควรกลับมาพบแพทย์ทันที

การดูแลตนเองหลังการส่องกล้อง

· อาหารมื้อแรกหลังการส่องกล้องควรเลือกเป็นอาหารอ่อนในปริมาณไม่มาก เช่น ข้าวต้ม หรือโจ๊ก หลีกเลี่ยงอาหารมัน อาหารรสจัด หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
· หลังทานอาหารควรลุกขึ้นเดินช้าๆ ประมาณ 10-15 นาที เพื่อช่วยให้ลำไส้บีบตัวได้ดีขึ้น
· ในกรณีที่ได้รับการตัดติ่งเนื้อหรือเนื้องอกในลำไส้ ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติในวันรุ่งขึ้น แต่ควรหลีก เลี่ยงการยกของหนัก การเบ่งถ่าย หรือการออกกำลังกายที่ต้องเกร็งหน้าท้องในช่วงสัปดาห์แรก

ข้อมูลดีๆจาก ศูนย์ทางเดินอาหาร รพ.ไทยนครินทร์

วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ผู้ป่วยโรคไต ควรทานอาหารอะไรดีที่เป็นประโยชน์ มาดูกัน

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต

ไต เป็นอวัยวะรูปร่างคล้ายถั่วเหลือง ยาว 12 เซนติเมตร หนัก 120-150 กรัม อยู่ด้านหลังของกระดูก

สันหลังบริเวณบั้นเอว ไตมีความสำคัญต่อร่างกายมาก โดยมีหน้าที่ดังนี้
ขับถ่ายของเสีย สารพิษ สิ่งแปลกปลอมต่างๆ
ดูดซึมสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายคืนเข้าสู่กระแสเลือด
รักษาความเป็นกรด ด่าง เกลือ และน้ำ ให้อยู่ในสภาวะสมดุลย์

ไตสร้างสารอีรีโธปัวอีติน (ERYTHROPOIETIN) ซึ่งจะไปช่วยกระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดแดง ไตช่วยเปลี่ยนวิตะมินดีให้มีประสิทธิภาพในร่างกาย อาหารบำบัดผู้ป่วยโรคไตมีความสำคัญมากเพราะหาก ผู้ป่วยสามารถปฎิบัติเรื่อ งอาหารได้ถูกต้องก็จะช่วยให้การรักษาด้วยยามีประสิทธิภาพ หรือการไปล้างไต ก็ไม่ต้องไปบ่อยนัก โรคไตเป็นโรคที่มีความซับซ้อนอย่างมาก ผู้ป่วยควรจะรับประทานอาหารที่มีปริมาณสาร อาหารมากน้อยเท่าใดนั้น แพทย์เท่านั้นจะต้องเป็นผู้กำหนด ซึ่งอาจจะต้องเปลี่ยนอาหารตามสภาวะ และความรุนแรงของโรค ผู้ป่วยจึงควรไปพบแพทย์เป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ

สารอาหารที่ต้องควบคุมสำหรับผู้ป่วยโรคไต มี 4 ตัวดังนี้

1. โปรตีน ได้แก่ อาหารพวกเนื้อสัตว์ต่าง ๆ นม ไข่ เต้าหู้ ถั่วเมล็ดแห้ง เป็นต้น ในคนปกติควรได้โปรตีน โดยเฉลี่ย 45-70 กรัม/วัน ต้องจำกัด เมื่อผู้ป่วยมีสารยูเรียคั่งในเลือด อาจต้องลดโปรตีนลงเหลือวันละ 20-40 กรัม ฉะนั้นโปรตีนจึงควรเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพดี ซึ่งได้แก่ นม ไข่ เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ชีส (เนยแข็ง)

ปริมาณอาหารต่อไปนี้ แต่ละอย่างจะมีโปรตีน 7 กรัม
- ไข่ไก่ 1 ฟอง
- นมสด 200 ซีซี. ( 1 ถ้วยตวงเท่ากับ 240 ซีซี)
- เนื้อสัตว์ต่าง ๆ 30 กรัม- เต้าหู้เหลือง, แข็ง 1/2 ชิ้น (60 กรัม)
- เต้าหู้ขาว 1/2 ชิ้น (100 กรัม)
- เต้าฮวย 200 กรัม
- ถั่วเมล็ดแห้ง 1/2 ถ้วยตวง

เช่น ต้องจำกัดโปรตีนวันละ 21 กรัม ผู้ป่วยก็สามารถรับประทานไข่ 1 ฟอง เนื้อปลา 30 กรัม และนมสด 1 แก้ว ก็จะได้โปรตีน 21-22 กรัมในหนึ่งวัน หรือจะแบ่งอย่างไรก็ได้เมื่อรวมแล้วขอให้ ได้โปรตีน 21 กรัม และแบ่งรับประทาน 3 มื้อ ต้องได้มาก เมื่อไตปล่อยไข่ขาว [ALBUMIN] ออกในปัสสาวะมาก แพทย์อาจสั่งให้รับประทานโปรตีนมากถึงวันละ 70 - 120 กรัม

2.โซเดียม มีมากในอาหาร พวกเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะพวกอาหารทะเล เกลือแกง อาหารที่ใช้เกลือในการถนอมอาหาร เช่น ไข่เค็ม ผักดองเค็ม ผลไม้ดองเค็ม เต้าเจี้ยว เป็นต้น และยังเป็นส่วนประกอบของผงชูรส ผงฟู ต้องจำกัด เมื่อไตไม่สามารถขับถ่ายโซเดียมได้ตามปกติ จะเกิดอาการตัวบวม ผู้ป่วยต้องงดอาหารพวกหมักดอง เกลือ อาจปรุงแต่งอาหารด้วยมะนาว น้ำตาล พริก เครื่องเทศต่าง ๆ ต้องได้มาก เมื่อไตขับโซเดียมออกทางปัสสาวะมาก จนตัวแห้งลีบ แนะนำให้เติมเกลือแกงในอาหารมาก ๆ

3น้ำ ต้องจำกัด เมื่อไตล้มเหลว ขับถ่ายปัสสาวะได้น้อยมากหรือไม่ได้ มีอาการตัวบวม ความดันโลหิตสูง ปริมาณน้ำที่ได้ต้องจำกัดให้เท่ากับ ปริมาณปัสสาวะใน 24 ชั่วโมงบวก 500 ซีซี ปริมาณนี้จะหมายถึงปริมาณน้ำที่ได้จากอาหารที่รับประทานและจากน้ำดื่มรวมกัน ต้องได้มาก เมื่อไตขับถ่ายโซเดียมออกทางปัสสาวะมาก มีอาการตัวแห้ง นอกจากต้องได้น้ำเพิ่มขึ้นแล้ว (ในคนปกติควรได้น้ำวันละ 8 แก้ว) ยังต้องได้เกลือเพิ่มด้วย

4.โปตัสเซียม มีในอาหารแทบทุกชนิด ต้องจำกัด เมื่อไตล้มเหลว ปัสสาวะไม่ได้ หรือปัสสาวะวันละ 500 ซีซี หรือน้อยกว่าในทางปฎิบัติผู้ป่วยสามารถรับประทานข้าว แป้ง ก๋วยเตี๋ยว ไขมัน ได้ตามต้องการ ควรงด ผลไม้และหลีกเลี่ยง ผักที่มีสีเข้ม ผักที่มีสีอ่อนจะมีโปตัสเซียมน้อยกว่าผักที่มีสีเข้ม ต้องได้มาก เมื่อสูญเสียโปตัสเซียม เช่น เมื่อใช้ยาขับปัสสาวะ

การป้องกันโรคไต

ไตนั้นโดยธรรมชาติก็จะค่อย ๆ เสื่อมสภาพไปตามอายุ ถ้าเรารู้จักระวังดูแลชลอการเสื่อมได้ การรับประทานอาหารพวกเนื้อสัตว์ แต่พอควร และการดื่มน้ำสะอาดวันละ 8-10 แก้ว ก็จะช่วยไตให้ทำงานลดลง โรคไตนั้นบางโรคก็ป้องกันได้ บางโรคก็ป้องกันไม่ได้ อย่างไรก็ตามวิธีการ

ป้องกันโรคบางชนิด ที่เราจะทำได้ มีดังนี้

หลีกเลี่ยง ยา และสารพิษต่าง ๆ ต่อไปนี้ ซึ่งจะเป็นพิษต่อไต- ยาซัลฟา จะไปตกตะกอนที่ไตได้ ทำให้เกิดไตวายได้- ยาปฏิชีวนะ เช่น เจนตามัยซิน คานามัยซิน- ยาที่เข้าพวกโลหะหนัก พวกเงิน ทอง ปรอท ตะกั่ว สารหนู- ยาลดไข้หรือยาแก้ปวด ถ้ารับประทานเป็นประจำนาน ๆ ไตจะเสื่อมสมรรถภาพจนเป็นไตวายได้- เฮโรอีน ยากันชัก พิษงู พิษเห็ดเมา ทำให้ไตวายได้

การกลั้นปัสสาวะนาน ๆ หรือการสวนปัสสาวะ จึงทำให้เชื้อเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ และเกิดการอักเสบได้

เมื่อเป็นหวัด เจ็บคอ หรือเกิดอักเสบที่ผิวหนัง ควรรีบรักษาให้หาย เพราะจะเกิดปฏิกิริยาที่ไตได้ทำให้เกิดโรคไตบางชนิดได้

โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงจากสาเหตุต่าง ๆ ควรรีบรักษาและได้รับการดูแลจากแพทย์ เพราะจะทำให้เกิดโรคไตได้

ข้อมูลดีๆจาก ศูนย์ไตเทียมโรงพยาบาลไทยนครินทร์

โรคไตวายเรื้อรัง จากเบาหวาน

โรคไตวายเรื้อรัง จากเบาหวาน

เราไม่ทราบว่าเบาหวานทำให้เกิดการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ

(กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กรวยไตอักเสบ) เพิ่มขึ้นหรือไม่ แต่ภาวะ แทรกซ้อนของการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะมักจะมีความรุนแรง ขึ้น เช่น เกิดฝีที่ไต หรือติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด ขณะที่การทำงานของไต เสื่อมลง ผู้ป่วยเบาหวานบางคนอาจมีการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ ซ้ำซากที่ยากต่อการรักษา อาการของการติดเชื้อ ได้แก่ ไข้ปัสสาวะแสบขัด เบื่ออาหารหลังจากผู้ป่วยเริ่มมีอาการบวมเนื่องจากระดับอัลบูมินในเลือดต่ำ ผู้ป่วยจะเริ่มมีการทำงานของไตเสื่อม และจะเริ่มมีอาการของไตวาย เช่น เบื่ออาหาร อ่อนเพลียง่าย กล้ามเนื้อเป็นตะคริว ทนหนาวไม่ได้ คันตามตัว ผิวหนังเกิดจ้ำเลือดได้ง่าย คลื่นไส้อาเจียน เลือดออกตามไรฟันหรือทางทวาร ไม่มีสมาธิ นอนไม่หลับหรือนอนหลับ เวลากลางวันแต่ตื่นเวลากลางคืน ถ้าเทียบโรคไตวายในระดับเดียวกัน ผู้ป่วยไตวาย ที่เกิดจากโรคเบาหวานจะมีอาการมากกว่าผู้ป่วยไตวายจากสาเหตุอื่น

การชะลอการดำเนินโรคของโรคไตวาย

1.ควบคุมความดันโลหิตให้เป็นปกติ

เป็นที่แน่ชัดว่าความดันโลหิตสูงจะเป็นอันตรายต่อไต ตา หัวใจ และ สมอง ผู้ป่วยเบาหวานทุกคนควรได้รับการรักษาความดันโลหิตสูง จนกระทั่งกลับสู่ระดับปกติ

2. ความคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ

ผู้ป่วยที่ใช้อินซูลินมักมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงและต่ำ แกว่งขึ้นลง การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างเข้มงวดสามารถชะลอการเกิด ผลแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้

3. ลดอาหารโปรตีนลง

ในคนปกติการรับประทานอาหารโปรตีนสูงจะทำให้ไตทำงานมากขึ้น ทำให้หน่วยไตเสื่อมลงเร็ว ดังนั้นการจำกัดอาหารโปรตีนสูงอาจช่วย ให้ผู้ที่เริ่มมีการทำงานของไตเสื่อม เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน มีความเสื่อมของไตช้าลง

ข้อมูลดีๆ จากศูนย์ไตเทียมโรงพยาบาลไทยนครินทร์

มาดูกันว่า ฟันคุดทำไมต้องผ่า และมีวิธีดูแลรักษาฟังอย่างไร

ฟันคุดทำไมต้องผ่า
ฟันคุดทำไมต้องผ่า

ฟันคุด คือ ฟันธรรมชาติของเรานี่แหละแต่มันไม่สามารถโผล่พ้นกระดูกและเหงือกขึ้นมา ในช่องปากได้เต็มซี่ สาเหตุที่มันขึ้นไม่ได้มีอยู่หลายประการเช่น มันถูกกีดกันจากฟันข้างเคียง มีกระดูกหรือเหงือกคลุมฟันคุดอยู่หนาจนไม่สามารถโผล่ขึ้นมาได้ หรือเพราะตัวมันนิสัยไม่ค่อยดี ชอบไปมุดหรืออยู่ในที่ที่ไม่ควรอยู่ เช่น ขอบล่างของกระดูกขากรรไกรล่าง บางทีไปโผล่อยู่ใต้ กระบอกตา บางทฤษฎีก็ว่าเพราะขนาดของกระดูกขากรรไกรมันเล็กไปทำให้ไม่มีที่พอที่อนุญาต ให้ฟันขึ้นมาครบทั้งสามสิบสองซี่ได้ หรือไม่ก็เป็นฟันเกินซี่ที่สามสิบสาม สามสิบสี่ สามสิบห้า... อย่างไรก็ดีที่เราจะพบฟันคุดเฉพาะฟันที่เป็นฟันแท้เท่านั้น

ฟันคุดที่พบบ่อยที่สุดเห็นจะเป็นฟันคุดของฟันกรามล่างซี่สุดท้าย รองลงมาคือฟันกรามบน ซี่สุดท้าย อีกตำแหน่งที่มักจะพบได้แก่ฟันเขี้ยว นอกจากนั้นฟันเกินก็ยังพบว่าเป็นฟันคุดที่อาจพบ ได้ในเกือบทุกตำแหน่งของกระดูกขากรรไกร บางคนก็ไม่มีฟันคุดหรือมีเฉพาะฟันบนหรือฟันล่าง บ้างก็มีข้างขวา ข้างซ้ายไม่มี เหล่านี้ต้องโทษเรื่องของกรรมพันธุ์ อย่างไรก็ดีฟันกรามซี่สุดท้าย ที่ขึ้นมาได้เต็มซี่สามารถใช้งานได้ ไม่สามารถสร้างปัญหาใดตลอดจนสามารถทำความสะอาดได้ดี ก็ไม่มีความจำเป็นต้องเอาออก

ช่วงอายุที่พบฟันคุดได้บ่อยคือช่วงอายุประมาณ 17-25 ปี ความจริงหลายคนมีฟันคุดตั้งแต่อยู่ในช่วงฟันผสมคือมีทั้งฟันน้ำนมและฟันแท้ แต่มีฟันแท้บางซี่ที่เป็นฟันคุดเกินอยู่ หนุ่มสาวบางคนมีฟันคุดของฟันกรามซี่สุดท้ายตั้งแต่อายุประมาณ 17 ปีแต่ทั้งหมดนี้ไม่เคยปรากฏอาการ ก็เป็นเรื่องแปลกที่หลายคนมีชีวิตอยู่กับฟันคุดไปจนแก่เฒ่าโดยไม่เคยสร้างปัญหาให้เจ้าของเลย แต่ก็มีกลุ่มชนผู้โชคไม่ช่วยอีกไม่น้อยที่ต้องทนทุกข์ทรมานกับปัญหาของฟันคุด

ทำไมต้องผ่าฟันคุด....นี่เป็นปัญหาที่ผู้ป่วยสงสัยมากที่สุด ก็อยู่ดีไม่ว่าต้องมาเจ็บตัวแถมเสียสตางค์อีกต่างหาก โดยธรรมชาติของฟันทุกซี่จะพยายามผลักดันตัวมันเองขึ้นมาสูดอากาศบริสุทธิ์ในช่องปากโดยมีถุงเนื้อที่หุ้มบริเวณหัวฟันเป็นตัวช่วยออกแรง เมื่อสามารถโผล่ขึ้นมาได้ เจ้าถุงนี้ก็จะสลายตัวหมดภาระหน้าที่ไป แต่ถ้ามันขึ้นไม่ได้ด้วยสาเหตุใดก็ตามความพยายามผลักดันตัวมันยังคงอยู่ แรงดันนี้อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการปวดได้ บางครั้งพบว่ากระดูกบริเวณรากฟันซี่ที่ติดกันถูกดันจนละลายตัวไป เนื่องจากฟันคุดบางซี่โผล่ขึ้นมาในช่องปากได้บางส่วนที่เหลืออยู่ใน กระดูกบ้าง ถูกเหงือกคลุมบ้างดังนั้นเศษอาหารและแบคทีเรียชอบที่จะไปซ่อนตัวอยู่บริเวณใต้เหงือกที่คลุมหัวฟันคุดอยู่ซึ่งเป็นที่ที่ทำความสะอาดได้ไม่ถึง จึงมักเกิดการอักเสบ ติดเชื้อที่บริเวณนั้นหรืออาจลุกลามต่อไปยังบริเวณข้างเคียงและใบหน้าได้ ปัญหาฟันข้างเคียงผุก็พบได้บ่อยอันเนื่องมาจากการที่ไม่สามารถทำความสะอาดบริเวณนั้นได้เพียงพอประกอบกับการมีเศษอาหารติดแน่นในที่นั้นได้ง่าย การกลายไปเป็นถุงน้ำหรือเนื้องอกขนาดเล็กหรือใหญ่โตก็พบได้เนื่องจากการเจริญที่ผิดปกติของถุงหุ้มฟันและเนื้อเยื่อของฟันคุดที่เหลืออยู่ นอกจากนั้นฟันคุดยังจะทำให้สถานการณ์แย่ลงในกรณีเกิดการหักบริเวณมุมกระดูกขากรรไกรที่รอยหักมักจะผ่านฟันคุดพอดิบพอดีเนื่องจากกระดูกบริเวณนั้นบางกว่าที่อื่น

การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดเป็นสิ่งสำคัญ ในผู้ที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาเพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อมก่อน ไม่ควรอดนอนในวันก่อนผ่าตัด อย่าอดอาหาร ให้ทานอาหารมาก่อนพออิ่ม ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด งดสูบบุหรี่ แปรงฟันและทำความสะอาดช่องปากมาก่อน ในเด็กหรือผู้สูงอายุควรมีคนมาเป็นเพื่อนด้วย การผ่าฟันคุดไม่ใช่เรื่องใหญ่และทำง่ายที่ โรงพยาบาล คลินิคทันตกรรม ภายใต้การฉีดยาชาเฉพาะที่ ซึ่งทำได้ทีละซี่หรือหลายซี่ในครั้งเดียวขึ้นกับความยากง่าย และความพร้อมของผู้ป่วย ในกรณีที่ทำยากเช่นฟันคุดอยู่ในบริเวณที่ลึกและไกลมาก หรือในผู้ป่วยที่กลัวและไม่ให้ความร่วมมืออาจพิจารณาทำภายใต้การดมยาสลบ ซึ่งต้องพิจารณาเป็นราย ๆ ไป การผ่าฟันคุดแต่ละซี่ใช้เวลาประมาณ 10 –30 นาที ขึ้นอยู่กับความยากง่ายและความร่วมมือของผู้ป่วย ฟันคู่สบมักสร้างปัญหาให้เกิดการอักเสบมากขึ้นเพราะคอยกัดกระแทกบริเวณแผลอยู่ตลอด บ่อยครั้งที่ทันตแพทย์จะแนะนำให้ถอนฟันคู่สบออกไปพร้อมกันเพื่อการหายที่ดีของแผลผ่าตัดซี่ตรงข้าม

การปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัดที่ถูกต้องจะช่วยลดปัญหาแทรกซ้อนลงได้มาก ผู้ป่วยต้องกัดผ้าก๊อซแน่น ๆ นิ่ง ๆ ไว้ประมาณ 2 ชั่วโมง เพื่อให้เลือดหยุดไหล ระหว่างนั้นให้กลืนเลือดและน้ำลายที่ซึมออกมาทั้งหมด อย่าอมไว้เพราะจะทำให้คลื่นไส้ หลังจากคลายผ้าก๊อซอาจมีเลือดหรือน้ำลายซึมออกมาให้พยายามกลืน ห้ามบ้วนเพราะยิ่งบ้วนเลือดจะยิ่งออก ถ้าเลือดออกมากให้ใช้ผ้าก๊อซสะอาดวางบนแผลแล้วกัดไว้การใช้น้ำแข็งประคบบริเวณแก้มใน 24 ชั่วโมงแรกจะช่วยลดอาการบวมที่จะเกิดได้ แต่ไม่ควรอมน้ำแข็งเพราะจะทำให้ เลือดไม่หยุดไหล การทำความสะอาดช่องปากเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อการหายที่ดีของแผล อาการปวดและบวมจะปรากฏอยู่ 3-4 วัน ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของการผ่าตัด และสุขภาพตลอดจนการดูแลที่ดีของผู้ป่วย

ปัญหาแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดที่พบบ่อยคืออาการปวดและบวม อาการปวดทุเลาลงได้ด้วยการกินยาระงับปวดทุก 4 ชั่วโมงใน 2 วันแรก วันต่อไปกินเมื่อปวด อาการบวมเกิดจากการอักเสบและมีเลือดดี่งในแผลและเนื้อเยื่อ ซึ่งโดยทั่วไปจะยุบลงใน 3-4 วัน ในกรณีที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อทันตแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะกินประมาณ 5 วัน ผู้ป่วยอาจมีอาการอ้าปากได้น้อย มีเลือดซึมอยู่หลายวัน ปัญหาการติดเชื้อหลังการผ่าตัดพบได้เนื่องจากการดูแลแผลในปากอาจทำได้ลำบาก บางครั้งมีเศษอาหารตกลงไปในแผลทำให้เกิดการหมักหมมและติดเชื้อตามมา ผู้ป่วยบางรายที่ฟันคุดอยู่ในตำแหน่งที่ลึกและใกล้เส้นประสาทในกระดูกขากรรไกรล่างอาจมีอาการชาบริเวณริมฝีปากเนื่องจากเส้นประสาทดังกล่าวได้รับการกระทบกระเทือน ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับปัญหาแทรกซ้อนเหล้านี้สามารถถามได้จากทันตแพทย์

ฟันคุดเป็นเรื่องที่ป้องกันและรักษาได้โดยจะมีปัญหาแทรกซ้อนน้อยที่สุดถ้าผู้ป่วยมาพบทันตแพทย์ในเวลาที่เหมาะสม การสอบถามข้อมูลต่าง ๆ จากทันตแพทย์ ความร่วมมือและความพร้อมของผู้ป่วยตลอดจนการให้การรักษาที่เหมาะสมจะทำให้ทั้งผู้ป่วยและทันตแพทย์มีความสุข

ข้อมูลดีๆจาก ศูนย์ทันตกรรมของโรงพยาบาลไทยนครินทร์

มาดูวิธีป้องกันฟันผุในเด็ก ที่คุณแม่สามารถช่วยแนะนำได้

มาดูวิธีป้องกันฟันผุในเด็ก ที่คุณแม่สามารถช่วยแนะนำได้

อย่างแรก ก็คือการดูแลทำความสะอาดปากและฟัน เราอาจจะเริ่มทำความสะอาดช่องปากของเด็กได้ ตั้งแต่ในช่วง 2-3 วันหลังแรกเกิด ได้เลย โดยหลังจากการให้นมเด็กแล้วควรจะใช้ผ้าก๊อซหรือผ้าสะอาด ชุบน้ำหมาด ๆ เช็ดคราบนมและคราบจุลินทรีย์ที่เกาะติดสันเหงือกของเด็ก วิธีนี้จะช่วยให้เด็กมีความคุ้นเคย กับการทำความสะอาดในปาก และไม่ต่อต้านในภายหลัง เมื่อฟันเริ่มขึ้นซึ่งมักจะเป็นช่วงอายุประมาณ 6 เดือน โดยจะมีฟันหน้าขึ้นมาก่อน เราควรจะเริ่มทำความสะอาดฟันที่ขึ้นมาด้วยแปรงสีฟัน โดยควรจะเลือก แปรงที่ออกแบบมาเพื่อเด็กโดยเฉพาะ เพราะจะมีขนาดเล็ก ขนแปรงอ่อนนุ่ม ผู้ปกครองควรแปรงทำ ความสะอาดฟันให้เด็กจนถึงอายุประมาณ 8 ปี เพราะเด็กที่เล็กกว่า 8 ปีมักแปรงฟันทำความสะอาดได้ ไม่ดีพอ แต่เราอาจเริ่มสอนเด็กให้แปรงฟันตั้งแต่อายุ 3 - 4 ปี โดยให้เด็กแปรงและผู้ปกครองตรวจเช็ค และแปรงซ้ำให้อีกครั้ง นอกจากการแปรงฟันทำความสะอาดแล้ว ควรมีการควบคุมอาหารที่รับประทานด้วย อาหารที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบสามารถที่จะทำให้เกิดฟันผุได้ง่าย เช่นเดียวกันกับอาหารพวกแป้ง หรือขนมขบเคี้ยว หรืออาหารที่มีลักษณะเหนียวติดฟันง่าย ยิ่งรับประทานอาหารพวกนี้บ่อยเท่าไร โอกาสที่จะเกิดฟันผุก็จะมีมากขึ้นเช่นกัน เนื่องจากตำแหน่งที่เกิดฟันผุมักเกิดที่บริเวณหลุมร่องฟัน ของฟันกรามหรือฟันหลัง ในปัจจุบันเรามีวัสดุที่สามารถทำการเคลือบผิวที่เป็นหลุมนี้ให้เรียบ ซึ่งจะเป็นการป้องกันการเกาะตัวของอาหาร น้ำตาล และแบคทีเรียที่บริเวณที่เคยเป็นหลุมร่องฟัน และเกิดฟันผุได้ง่าย เนื่องจากบริเวณหลุมร่องฟันเป็นบริเวณที่ยากแก่การทำความสะอาดได้ทั่วถึง แม้ว่าขนแปรงสีฟันที่มีขนาดเล็ก ก็ยังไม่สามารถทำความสะอาดได้ทั่ว หลังจากที่ได้รับการเคลือบ หลุมร่องฟันแล้ว บริเวณนี้จะมีลักษณะเรียบ การทำความสะอาดจะทำได้ง่ายขึ้น โอกาสที่จะเกิดฟันผุ ก็ลดลงมาก

นอกจากการทำเคลือบหลุมร่องฟันแล้ว การใช้ฟลูออไรด์อย่างเหมาะสมก็เป็นอีกวิธีที่มีประสิทธิภาพ ในการป้องกันฟันผุ การใช้ฟลูออไรด์อาจมีทั้งแบบฟลูออไรด์เสริมสำหรับรับประทาน ซึ่งในกรณีนี้ควรให้ ทันตแพทย์หรือกุมารแพทย์เป็นผู้สั่งจ่าย และแนะนำให้เนื่องจากในเด็กแต่ละคนและแต่ละช่วงอายุ ควรได้รับในขนาดที่แตกต่างกัน ฟลูออไรด์อีกชนิดหนึ่งคือการเคลือบฟลูออไรด์ ซึ่งจะให้ผลโดยตรงต่อฟัน ที่ขึ้นมาในช่องปากแล้ว วิธีนี้ทันตแพทย์จะเป็นผู้ทำให้ โดยทั่วไปเรามักจะเคลือบฟลูออไรด์ให้เด็กทุก 6 เดือนซึ่งเป็นระยะที่เด็กมารับการตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำ ส่วนฟลูออไรด์ชนิดที่เรารู้จักคุ้นเคยกันอยู่ แล้วก็ได้แก่ฟลูออไรด์ที่อยู่ในยาสีฟัน แต่การใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ในเด็ก ควรมีข้อควรระวังด้วย เนื่องจากเด็กอาจมีการกลืนยาสีฟันลงไป ซึ่งอาจทำให้ได้รับฟลูออไรด์มากเกินไปอย่างไม่เหมาะสม ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 3 ปี ยังไม่ควรใช้ยาสีฟัน เพราะเด็กยังบ้วนน้ำกลั้วปากไม่ได้ โอกาสที่จะกลืน ยาสีฟันมีมาก ในเด็กอายุ 3-6 ปี ควรเริ่มใช้ยาสีฟันในปริมาณน้อย ๆ เช่น ประมาณเม็ดถั่วเขียว ซึ่งจะช่วยลดโอกาสการได้รับฟลูออไรด์เกินได้ในกรณีที่เด็กกลืนยาสีฟัน

จากที่กล่าวมาถึงวิธีที่ช่วยป้องกันฟันผุซึ่งได้แก่ การดูแลทำความสะอาดฟัน การควบคุมอาหาร การทำเคลือบหลุมร่องฟัน และการใช้ฟลูออไรด์แล้ว เราควรพาเด็กมาพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยทุก 6 เดือน ในบางครั้งฟันผุหรือความผิดปกติในช่องปากและฟันช่วงแรก ๆ จะไม่มีอาการ

แต่อย่างใด ผู้ปกครองเองอาจไม่ทราบว่า เด็กมีฟันผุแล้ว การมาพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้พบสิ่งผิดปกติในระยะแรกซึ่งง่ายต่อการแก้ไข ถ้าปล่อยให้นานขึ้นการรักษาย่อมมีความยากและซับซ้อนขึ้นตามกันไป เด็กอาจมารับการตรวจสุขภาพฟันครั้งแรกได้ หลังจากฟันซี่แรกขึ้นถึง 1 ขวบปีแรก และควรมาเป็นระยะ ๆ ตามที่ทันตแพทย์แนะนำหลังจากนั้น

สาเหตุที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้เกิดฟันผุในเด็กเล็กมากก็ได้แก่ การใช้ขวดนมโดยเฉพาะเวลากลางคืน ขณะเด็กหลับ เพราะคราบนมที่ค้างอยู่ตลอดทั้งคืนร่วมกับแบคทีเรียในช่องปากจะทำให้เกิดฟันผุได้ ลักษณะฟันผุประเภทนี้จะพบฟันผุมาก โดยเฉพาะฟันหน้าบน เราไม่ควรให้ขวดนมคาปากของเด็กเวลากลางคืน ก่อนนอนควรทำความสะอาดช่องปากและฟันให้เด็ก ถ้าเด็กติดขวดนมมากอาจเปลี่ยนเป็นขวดที่มีเฉพาะน้ำธรรมดา โดยทั่วไปควรฝึกให้เด็กเริ่มดื่มนมจากแก้ว และควรจะเลิกการใช้ขวดนมไปในช่วง 1 ขวบ ถึง 1 ขวบครึ่ง ซึ่งจะช่วยลดโอกาสที่จะเกิดฟันผุชนิดนี้ได้

เมื่อใดก็ตามที่เด็กเริ่มมีฟันผุขึ้นมาแล้ว ซึ่งอาจจะตรวจพบโดยทันตแพทย์หรือผู้ปกครองสังเกตเห็นแล้วพามาพบทันตแพทย์ ฟันที่ผุนั้นควรได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี เพื่อมิให้มีความผิดปกติมากขึ้น หรือทำให้เกิดปัญหาตามมาเช่นการปวดฟัน ในกรณีที่เป็นฟันผุระยะเริ่มแรก การรักษาก็อาจจะเป็นการอุดฟัน ซึ่งก็จะมีวัสดุและวิธีการหลาย ๆ แบบแล้วแต่กรณีไป แต่ถ้าการผุได้ลุกลามไปมากแล้วและอาจมีส่วนถึงโพรงประสาทฟัน การรักษาคงต้องทำการรักษาประสาทฟันด้วย การอุดฟันแต่เพียงอย่างเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาได้ และอาจมีอาการปวดฟันและเกิดเนื้อเยื่อบริเวณรอบรากฟันอักเสบรุนแรง ตามมา ในกรณีที่ฟันซี่นั้นมีการผุหลาย ๆ ด้าน ก็อาจจะต้องรักษาด้วยการครอบฟัน การครอบฟันน้ำนมที่ผุหลายด้านนั้น จะมีความคงทนกว่าการอุดฟันหลาย ๆ ด้าน และสามารถที่จะทำให้เสร็จได้ภายในครั้งเดียว ซึ่งจะแตกต่างจากการครอบฟัน ในผู้ใหญ่ ถ้าฟันที่ผุมีการติดเชื้อซึ่งทำให้ปลายรากฟันอักเสบ มีการละลายตัวของกระดูกหุ้มรากฟันมาก อาจต้องพิจารณาถอนฟันซี่นี้ออก เพื่อป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อลงสู่ฟันถาวรข้างใต้ได้ หลังจากถอนฟันแล้วโดยเฉพาะ บริเวณฟันหลัง อาจต้องพิจารณาใส่เครื่องมือกันฟันด้านหลังล้มเข้ามาสู่บริเวณที่ถอนฟันไปแล้ว เครื่องมือชนิดนี้จะมีขนาดเล็ก ๆ ใส่ยึดกับฟันที่อยู่ติดกับบริเวณที่ถอนฟันไปโดยจะใส่ไว้จนฟันถาวรซี่ที่อยู่บริเวณนั้นขึ้นมาจึงถอดออก ทั้งนี้ทั้งนั้นการรักษาจะเป็นชนิดไหนก็ตามก็คงต้องขึ้นอยู่กับลักษณะแต่ละรายไป ซึ่งทันตแพทย์จะให้คำปรึกษาและอธิบาย ถึงวิธีการรักษาแต่ละชนิดได้ดีที่สุด

ข้อมูลดีๆจาก ศูนย์ทันตกรรมของโรงพยาบาลไทยนครินทร์

วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เคล็ดลับ คุณหนูยิ้มสวย ฟันแข็งแรง ไม่ใช่เรื่องยาก

เคล็ดลับ คุณหนูยิ้มสวย ฟันแข็งแรง ไม่ใช่เรื่องยาก

การที่เด็ก ๆ จะมีสุขภาพของช่องปากและฟันที่ดี มียิ้มฟันสวยนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องบังเอิญที่จะเกิดขึ้นได้เอง แต่เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรจะให้ความเอาใจใส่และมีบทบาทสำคัญเป็นอย่าง ยิ่ง ที่จะช่วยให้เด็กมีสุขภาพฟันที่ดีตั้งแต่วัยเยาว์ ไปจนถึงอีกหลาย ๆ ปี การดูแลควรจะเริ่มตั้งแต่เด็กยังเป็นทารก และต่อเนื่องไปจนถึงในวัยผู้ใหญ่ ในช่วงที่เด็กยังเล็กมาก ๆ ควรเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ที่จะให้การดูแล เมื่อเด็กโตขึ้นเรา ก็ควรที่จะเริ่มแนะนำให้เด็กทำได้เอง ในขณะเดียวกันเราก็ควรมีการตรวจเช็คดูว่าเด็กสามารถทำการดูแลสุขภาพปากและ ฟันตัวเองได้ดีแค่ไหน ควรต้องปรับปรุงจุดไหนบ้าง เราควรปลูกฝังทัศนคติที่ดีในการดูแลสุขภาพปากและฟันให้เด็กด้วย และที่สำคัญคุณพ่อคุณแม่ ต้องไม่ลืมดูแลตัวเอง เพราะเด็ก ๆ จะยึดถือคุณพ่อคุณแม่เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตาม

โรคฟันผุเป็นโรคที่มักจะพบได้บ่อย ๆ ในเด็กที่ขาดการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันที่ถูกต้องและเหมาะสม สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดโรคฟันผุก็ได้แก่ คราบจุลินทรีย์ที่เกาะที่ผิวฟัน อาหารที่มีน้ำตาลและแป้งเป็นส่วนประกอบ และลักษณะของตัวฟันเองที่มีผลทำให้เกิดฟันผุได้ง่าย เมื่อเรารับประทานอาหารพวกแป้งและน้ำตาล แบคทีเรียที่อยู่ในคราบจุลินทรีย์บริเวณผิวฟัน จะทำการย่อยอาหารนั้นให้กลายเป็นกรด และกรดนี้เองจะเป็นตัวทำลายผิวเคลือบฟันก่อให้เกิดฟันผุขึ้น บริเวณที่มักจะเกิดฟันผุมักเป็นบริเวณหลุมร่องฟันของฟันกรามและบริเวณที่ฟัน อยู่ชิดติดกัน ซึ่งเป็นบริเวณที่อาหารที่รับประทานและคราบจุลินทรีย์สะสมได้ง่าย นอกเหนือจากโรคฟันผุแล้ว โรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์ก็สามารถที่จะพบได้ ถึงแม้ว่าโรคปริทันต์มักจะพบในกลุ่มผู้ใหญ่มากกว่า แต่จากการศึกษาวิจัยหลาย ๆ แห่ง บ่งชี้ว่าโรคปริทันต์ที่เกิดในผู้ใหญ่ในหลาย ๆ กรณี มักจะมีสาเหตุจากการขาดการดูแลสุขภาพ ในช่องปากที่ดีในระยะเด็กและระยะวัยรุ่น ลักษณะเริ่มแรกของโรคปริทันต์ได้แก่ เริ่มจะมีเหงือกอักเสบ บวมแดง และมีเลือดออกได้ง่าย ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาและการแนะนำที่ถูกต้องจากทันตแพทย์ โรคปริทันต์จะรุนแรงขึ้น ซึ่งจะมีการทำลายของกระดูกที่หุ้มรากฟัน และสุดท้ายต้องสูญเสียฟันซี่นั้นไป สาเหตุหลักของโรคปริทันต์ ได้แก่ คราบจุลินทรีย์เช่นกัน ดังนั้นการดูแลช่องปากและฟันโดยการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธีเป็น ประจำ ประกอบกับพบทันตแพทย์เพื่อตรวจเช็คอย่างสม่ำเสมอ จะเป็นการป้องกันที่ดี สำหรับโรคฟันผุและโรคปริทันต์ได้

ข้อมูลดีดีจาก ศูนย์ทันตกรรมของโรงพยาบาลไทยนครินทร์

มาทำความรู้จักกับการ การครอบฟันนางฟ้า

มาทำความรู้จักกับการ การครอบฟันนางฟ้า

การครอบฟันนางฟ้าเป็นการครอบฟันสำหรับฟันน้ำนม พ่อแม่หลายท่านคงสงสัยว่าฟันน้ำนมต้องครอบฟันด้วยหรือ ไม่ช้าก็ต้องหลุด และมีฟันแท้ขึ้นแทนที่จะต้องรักษาไว้ทำไมให้ยุ่งยาก เมื่อผุก็ละเลยไม่อุดรอปวดก็ถอนออกไม่จำเป็นต้องรักษา หรือบางท่านก็คิดว่าถ้ารักษาฟันน้ำนมดีเกินไป ไม่ยอมหลุดตามธรรมชาติก็จะทำให้ฟันแท้ขึ้นไม่ได้ ความเชื่อเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งไม่ถูกต้องจริง ๆ แล้วฟันน้ำนมมีความสำคัญมาก และจะอยู่ในช่องปากเป็นเวลานานหลายปี ฟันน้ำนมจะเริ่มขึ้นเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน และจะขึ้นครบ 20 ซี่เมื่ออายุประมาณ 1 1/2 - 3 ขวบ และเมื่ออายุประมาณ 6 ขวบ ฟันหน้าน้ำนมจะเริ่มทยอยหลุดไปมีฟันแท้ขึ้นแทนที่ แต่สำหรับฟันกรามน้ำนมนั้นจะเริ่มเปลี่ยนเมื่ออายุประมาณ 9 ขวบ และจะเปลี่ยนเป็นฟันแท้ทั้งหมด เมื่ออายุประมาณ 12 ขวบ ดังนั้นจะเห็นว่าฟันกรามน้ำนมอยู่ในช่องปากนานร่วม 10 ปีเลยทีเดียว เราอาจกล่าวโดยสรุปหน้าที่ของฟันน้ำนมมีดังนี้ คือ

1 ใช้บดเคี้ยวอาหาร
2 ฟันหน้าให้ความสวยงาม และช่วยการออกเสียง
3 เป็นตัวรักษาช่องว่างสำหรับฟันแท้ เพื่อให้ฟันแท้มีที่ขึ้นมาได้อย่างถูกต้อง ไม่เกิดการล้มเอียง หรือซ้อน

ดังจะเห็นแล้วว่าฟันน้ำนมมีความสำคัญ การดูแลรักษาฟันน้ำนมจึงเป็นสิ่งจำเป็น เมื่อฟันน้ำนมผุเราควรจะบูรณะไว้ด้วยการอุดฟันสำหรับกรณีผุน้อยไม่ล้มมากนัก แต่ถ้าฟันน้ำนมที่ผุมากๆ หลายด้าน หรือ ผุลึกมากจนทะลุโพรงประสาทฟัน การรักษาจำเป็นต้องรักษารากฟันน้ำนมก่อน แล้วจึงทำครอบฟัน เพื่อป้องกันการแตกหักของฟัน

การทำครอบฟันนั้น สามารถจะทำได้ทั้งฟันหน้า และฟันกรามหลังที่ใช้บดเคี้ยว สำหรับฟันหน้าวัสดุที่ใช้ครอบฟัน อาจจะแยกได้ เป็น 2 ชนิด คือ ครอบฟันแบบสีเหมือนฟัน ซึ่งให้ความสวยงามคล้ายฟันธรรมชาติ อีกชนิดจะเป็นครอบฟันแบบโลหะ สแตนเลสไร้สนิม ซึ่งเป็นสีเงินให้ความแข็งแรงทนทาน ควรที่จะเลือกใช้วัสดุชนิดใดคงต้องดูตามสภาพของฟันที่ผุ และดุลยพินิจของทันตแพทย์

ในกรณีของฟันกรามหลังนั้นวัสดุที่ใช้ครอบจะมีเพียงแบบเดียว คือ ครอบโลหะสแตนเลสไร้สนิม เนื่องจากต้องการความแข็งแรงมากกว่าความสวยงาม เพราะใช้บดเคี้ยวอาหาร การครอบฟันในเด็กนั้นทำได้ง่ายกว่าในการทำครอบฟันของผู้ใหญ่ คือ จะมีครอบฟันสำเร็จรูปมาแล้ว ทันตแพทย์จะกรอแต่งฟัน และปรับแต่งครอบฟันสำเร็จรูปนั้น ให้พอดีกับฟันน้ำนมในแต่ละซี่แล้วสามารถใส่ครอบฟันสำเร็จรูปนั้นให้แก่เด็ก ได้เลยในวันเดียว เนื่องจากครอบฟันที่ใช้เป็นสแตนเลส ดังนั้นจะไม่เป็นสนิม และไม่เป็นอันตรายใดๆ ต่อร่างกาย รูปร่างของครอบฟันจะมีลักษณะเหมือนกับฟันธรรมชาติ เด็กสามารถใช้ฟันเคี้ยวอาหารได้ตามปกติ และจะใช้งานได้เรื่อยไปจนกว่าจะถึงเวลาหลุดของฟันน้ำนมซี่นั้นๆ เมื่อถึงเวลาหลุดฟันแท้ที่อยู่ด้านใต้ของฟันน้ำนมซี่นั้นจะค่อยๆขึ้น และละลายรากฟันน้ำนม ทำให้ฟันน้ำนมโยก และหลุดออกมาพร้อมกับครอบฟันนั้น

สำหรับการดูแลรักษาฟันที่ครอบก็ทำได้ปกติ มีการแปรงฟัน ทำความสะอาดนั้นเหมือนฟันน้ำนมทั่วๆ ไป เพียงแค่ระวังเรื่องอาหารเหนียวๆ เช่น หมากฝรั่ง ตังเม ฯลฯ ซึ่งอาจจะมีโอกาสทำให้ครอบฟันหลุดออกมาได้ แต่ถ้าครอบฟันหลุด ก็ขอให้คุณพ่อ คุณแม่ เก็บครอบฟันซี่นั้นไว้แล้วนำกลับมาให้ทันตแพทย์ครอบให้ใหม่ได้ค่ะ

ดังนั้นอย่าลังเลเลยค่ะที่จะพาบุตรหลานของท่านมาตรวจ และรักษาสุขภาพฟันน้ำนม เพราะ การดูแลรักษาฟันน้ำนมให้ดี ก็จะส่งผลดีต่อสุขภาพของเด็ก อีกทั้งยังส่งผลในระยะยาวต่อฟันแท้ ให้มีพัฒนาการที่ดี การจัดเรียงตัว ที่ถูกต้องและมีโครงสร้างของใบหน้าที่สวยงาม ต่อไป ถ้าหากปล่อยปละละเลยก็อาจจะทำให้มีปัญหาการซ้อนเกในฟันแท้ ทำให้ต้องเสียเวลา และค่าใช้จ่ายในการจัดฟัน เมื่อเด็กโตขึ้นอีกด้วย ลองสำรวจฟันลูกน้อยของคุณดูนะคะว่าต้องรักษาด้วยครอบฟันนางฟ้าบ้างหรือเปล่า

ข้อมูลดีดีจาก ศูนย์ทันตกรรมของโรงพยาบาลไทยนครินทร์

วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

รู้หรือไม่ว่า EQ สำคัญกว่า IQ

พ.ญ.กมลชนก เหล่าชัยศรี จิตแพทย์ศาสตร์เด็กและวัยรุ่น การรู้สึกโกรธเป็นเรื่องไม่ยาก แต่การรู้จักแสดงความโกรธ ให้ถูกคน ถูกความรุนแรง ถูกกาลเทศะ และถูกวิธี เป็นเรื่องยาก
รู้หรือไม่ว่า EQ สำคัญกว่า IQ
รู้หรือไม่ว่า EQ สำคัญกว่า IQ

ปัญหาหนึ่งในหลาย ๆ ปัญหาที่พ่อแม่จะพาลูกมาปรึกษา คือ ปัญหาการเรียนพ่อแม่อยากให้ลูกเรียน เก่งพาลูกมาให้ตรวจระดับสติปัญญา หรือ IQ (Intellectual Quotient) ซึ่งเป็นการวัดความสามารถในการจำ การคิดรวบยอดเชิงวิชาการ เมื่อทราบผลแล้ว พ่อแม่หลายคนจะยึดติดกับผลการตรวจ IQ มาก ถ้าผล การตรวจออกมาว่าIQ สูง ก็ดีใจว่าลูกคงจะสบาย ชีวิตประสบความสำเร็จได้ ถ้าตรวจ IQ แล้วผลออกมา ต่ำกว่าก็มักจะเดือดร้อน หนักใจว่าลูกคงไม่มีวันได้ดี แต่แท้จริงแล้ว อยากให้ทราบว่าการศึกษาช่วงหลัง ๆ พบว่าระดับ IQ เป็นปัจจัยบ่งชี้ ความสุขสำเร็จในชีวิต เพียงแค่ 20 % เท่านั้นเอง ถ้า สังเกตดูเคสที่ประสบ ความสำเร็จในครอบครัว และหน้าที่การงานเมื่อถามย้อนหลังสมัยเรียนไม่จำเป็นว่าต้องเป็นคนที่คะแนน เฉลี่ยสูงที่สุด ในทางกลับกันคนที่เรียนเก่งที่สุด ก็ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จในชีวิตสูงที่สุด ไม่ว่าจะเป็น เรื่องการงาน สังคม หรือครอบครัว มีอะไรอีกที่เป็นปัจจัยบ่งชี้ความสุข ความสำเร็จในชีวิตของคนเรา ลูกหลานของเราช่วงอายุ 5-10 ปี ที่ผ่านมามีการศึกษาและการให้ความสำคัญ เรื่อง EMOTIONAL INTELLIGENCE ซึ่งแปลเป็นไทย หมายถึง ความฉลาดหรือวุฒิภาวะ ทางด้านอารมณ์ การศึกษาบ่งชี้ว่า EI มีผลต่อความเป็นสุขสำเร็จในชีวิต มากกว่าระดับสติปัญญาด้วยซ้ำ ซึ่งเป็นเรื่องดี เพราะระดับ IQ มักจะ กำหนดมาแล้วตั้งแต่เกิด การเลี้ยงดูมีส่วนบ้างแต่ไม่มาก ในขณะที่ EI สอนได้ในทุกคน ทุกวัย ทุกระดับ IQ EMOTIONAL INTELLIGENCE จะได้ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ โดยต้องฝึกตนให้มีข้อ 1 ก่อน จึงจะมีข้อ 2 3 4 และ 5 ตามลำดับเปรียบเสมือน เด็กจะวิ่งได้ต้อง ชันคอ นั่ง คลาน เดิน ได้ก่อนจึงจะวิ่งได้

1. การรู้อารมณ์ตนเอง (KNOWING ONE"S EMOTIONS)

ความสามรถในการรับรู้อารมณ์ของตนเอง ในขณะที่กำลังมีอารมณ์อยู่เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ต่อการเข้าใจตนเอง คนส่วนใหญ่เวลาโกรธมักไม่รู้ตัว แต่จะโวยวายก่อนแล้ว จึงมารู้ตัวทีหลังว่า เมื่อกี้กำลังโมโห อย่างนี้คือไม่รู้อารมณ์ตนเอง การรู้อารมณ์ตนเอง คือต้องรู้ว่าตนเองกำลังโกรธ ในขณะที่กำลังโกรธอยู่ คน ไม่รู้จักอารมณ์ตนเอง มักตกเป็นทาสอารมณ์นั้น ๆ ในขณะที่คนที่รู้ อารมณ์ตัวเองมักเลือกแนวทางชีวิตได้ดีได้ดีกว่าเพราะรู้ตัว มีสติ รู้ความรู้สึกที่แท้จริงของตัวเอง เกี่ยวกับทุก ๆ อย่างไม่ว่าจะหน้าที่การงานหรือครอบครัว การเลี้ยงลูกให้รู้จักอารมณ์ตัวเอง ฝึกได้ตั้งแต่เริ่มรู้ภาษาฟังเราเข้าใจ ถ้าพ่อแม่สังเกตว่าลูกกำลังดีใจ พอใจ ก็สอนให้รู้อารมณ์ โดยบอกว่าหนูดีใจใช่ไหม ดีใจจังเลยนะลูกนะ เวลาสังเกตว่าลูกโกรธก็สอนเขาว่านี่หนูกำลังโกรธ หนูไม่ชอบใช่ไหม กว่าลูกจะเริ่มพูด เขาก็จะมีความเคยชินและทักษะในการตั้งชื่อ และให้ชื่อ อารมณ์ต่าง ๆ ของตนเอง ว่ากำลังโกรธ เสียใจ หรือดีใจก็ตาม

2. การบริหารจัดการอารมณ์ตนเอง (Managing one"s emotion)

การบริหารจัดการอารมณ์ตนเอง หมายถึง การรู้ และให้ความสำคัญอารมณ์ตนเอง และรู้จักปรับ อารมณ์ให้อยู้ในภาวะสมดุล หรือในภาวะที่เหมาะสมกับเหตุการณ์นั่นเอง การมีอารมณ์น้อยเกินไป ทำให้ชีวิตจืดชืด และแล้งความหมาย ส่วนการมีอารมณ์มากจนคุมไม่อยู่ ก็กลายเป็นโรคได้ เช่น โรคซึมเศร้า วิตกกังวล และอื่นๆ การรู้จักปลอบโยน หรือคลายเครียดให้ตนเอง ฝึกได้ตั้งแต่เด็กเล็ก มักจะเรียนรู้การปลอบตัวเองจากการเลียนแบบ วิธีที่พ่อแม่หรือคนเลี้ยงดูปลอบโยนเขา

3. การรู้จักสร้างแรงจูงใจให้ตนเอง (Motivating oneself)

ส่วนที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งของ EI คือ การรู้จักถึงอารมณ์และความต้องการของตนเองเอามา บริหารให้บรรลุถึงจุดหมาย คนเรามีกิเลส ความต้องการ ความปรารถนาทุกคน แต่มักขาดทักษะ ในการให้ได้สนองความต้องการนั้น ๆ อย่างเหมาะสม การมีทักษะในการรอคอย อดทน เพื่อบรรลุ เป้าหมาย ฝึกได้ตั้งแต่เด็ก ๆ เช่น การสอนเด็กอายุ 4 ปี ว่า ถ้าอยากได้ขนมแค่ 1 ชิ้น ก็ให้ได้เลย แต่ถ้าต้องการ 2 ชิ้น ต้องอดทนรอประเดี๋ยวการศึกษาพบว่าเด็กที่รู้จักรอคอย เพื่อจะได้ขนม 2 ชิ้น ประสบความสำเร็จในชีวิตได้ดีกว่า ทั้งในด้านการเรียนและการคบเพื่อน

4. การรู้อารมณ์ผู้อื่น (Empathy)

การรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเราหรือการรับรู้อารมณ์ของผู้อื่นจะช่วยให้คนเราปรับ ตัวได้ดีกว่า ทำให้เป็นคนมีเสน่ห์ มีเพื่อน และมีสายสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ดีกว่า การมี Empathy ยังมีความสำคัญ ต่อการสอนจริยธรรม และการป้องกันการเกิดอาชญากร เพราะอาชญากรรรมมักเกิดจากการที่ อาชญากรไม่เห็นอกเห็นใจเหยื่อของตนนั่นเอง การสอนเด็กให้ทำดี เพราะเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ให้รู้จักเอาใจเพื่อนมาใส่ใจเรา จะช่วยให้เด็กมีเพื่อนและเป็นคนดีของสังคม

5. การรู้จักบริหารจัดการอารมณ์ผู้อื่น (Manging emotions in others)

ความสามารถในการจัดการอารมณ์ผู้อื่น วัดได้จากความสามารถ และทักษะในการทำให้อารมณ์ ของผู้อื่นรู้สึกดีมีความสุข ย่อมเป็นที่ชื่นชอบของผู้อื่น เป็นผู้นำได้ และจะมีประสิทธิภาพในการ บริหารองค์กรและครอบครัวได้ดี เด็กๆ จะฝึกทักษะนี้ได้จากการหัดให้กำลังใจเพื่อน หรือแม้กระทั่ง หัดปลอบใจคนใกล้ตัว เช่น พ่อ แม่ พี่น้อง การที่จะมี EI ฝึกได้ตั้งแต่เล็ก คนโตแล้วก็สอนได้เช่นกัน EI ของแต่ละคนพัฒนาได้ และผู้เขียนอยากจะเชียร์ให้ทุกคนฝึกฝน ให้ตนเองมี EI ให้มาก ๆ เพื่อความสุข และความสำเร็จในชีวิตอย่างแท้จริง

ข้อมูลจาก แผนกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลไทยนครินทร์

ท่อน้ำตาอุดตันในเด็กแรกเกิดที่คุณแม่ควรรู้

ท่อน้ำตาอุดตันในเด็กแรกเกิดที่คุณแม่ควรรู้
ท่อน้ำตาอุดตันในเด็ก

โรคท่อน้ำตาอุดตัน เป็นอีกโรคหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ในเด็กวัยเด็กแรกเกิด อาการเหล่านี้อาจไม่รุนแรงมากนัก แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้ อาจเกิดการติดเชื้อเป็นฝีบริเวณถุงตาได้ จึงนำเรื่องราวของโรคท่อน้ำตาอุดตันในเด็กแรกเกิด มาฝากคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ เพื่อเป็นข้อมูลไว้ดูแลลูกน้อยค่ะ

ท่อน้ำตาอุดตันในเด็ก คือ ภาวะของท่อน้ำตาที่ตามปกติจะเปิดเข้าสู่โพรงจมูกนั้นไม่เปิด ทำให้น้ำตา ที่สร้างโดยต่อมน้ำตาเพื่อมาหล่อลื่นตานั้นเอ่อล้นออกมาให้เห็นและเกิดอาการได้ ภาวะนี้พบค่อนข้างบ่อย ในเด็กทารกประมาณ 30% อาจจะเป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ ภาวะนี้บางคนจะหายได้เองภายใน 2-3 เดือน หลังคลอด แต่ในบางคนที่ไม่หายก็ต้องได้รับการรักษา

ท่อน้ำตาอุดตันจะมีอาการที่เห็นชัดๆคือ จะมีน้ำตาคลอในตาข้างที่อุดตันตลอดเวลา เหมือนคนร้องไห้ใหม่ๆ บางรายอาจจะมีการอักเสบ และจะมีขี้ตาแฉะร่วมด้วย โดยที่มีตาบวมแดงไม่มากนัก อาการนี้มักเป็นตั้งแต่แรก เกิดและดีขึ้นเป็นครั้งคราวเมื่อใช้ยาแต่ไม่หายขาด บางรายที่มีการสะสมของขี้ตา และเชื้อโรคมากๆ เข้าไป ในถุงน้ำตาก็อาจจะทำให้อักเสบเป็นฝีบริเวณถุงน้ำตาได้

การตรวจและรักษา

ในรายที่สงสัยว่าเป็นท่อน้ำตาอุดตัน คุณพ่อคุณแม่ควรพาเด็กมาพบกุมารแพทย์หรือจักษุแพทย์ก่อนทุกราย เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นท่อน้ำตาอุดตันจริงหรือไม่ เบื้องต้นแพทย์จะสอนให้แม่นวดตาตรงบริเวณถุงน้ำตาบ่อยๆ ซึ่งแม่ควรตัดเล็บให้สั้นและล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังทำทุกครั้ง แพทย์อาจให้ยาหยอดตาปฏิชีวนะร่วมด้วย ในกรณีที่มีอาการอักเสบเกิดขึ้นแล้ว ส่วนใหญ่เด็กจำนวนมากจะสามารถหายได้เองด้วยวิธีนี้ แต่หากอาการยังไม่ดีขึ้น กุมารแพทย์จะพิจารณาส่งต่อให้จักษุแพทย์ทำการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม และรักษาโดยการ “แยงท่อน้ำตา” ซึ่งควรทำก่อน เด็กมีอายุครบ 1 ปี

การแยงท่อน้ำตา อันตรายหรือไม่ ควรทำเมื่อไร

การแยงท่อน้ำตาไม่มีอันตรายต่อตาและต่อชีวิตแต่อย่างไร เพราะเราทำแค่บริเวณเปลือกตาเท่านั้นไม่ได้ทำอะไร เกี่ยวกับลูกตาเลย แต่การทำจำเป็นต้องดมยาสลบ เพื่อให้เด็กสลบไปจะได้ไม่รู้สึกเจ็บ การแยงท่อน้ำตาควรทำก่อนเด็ก มีอายุครบ 1 ปี เพราะถ้าทิ้งไว้นานเกิน 1 ปีกระดูกในโพรงจมูกก็จะแข็งตัวและหนาขึ้นเป็นกระดูกทึบ ทำให้การแยง ท่อน้ำตาไม่สามารถทะลุกระดูกแข็งๆได้ ผลคือการรักษาไม่สำเร็จและเด็กก็จะมีน้ำตาไหลตลอดชีวิต ถ้าจะให้หายก็ต้อง รักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเข้าไปกรอกระดูก เป็นการรักษาซึ่งทำยากและซับซ้อนขึ้น และทำได้เมื่อเด็กโตเต็มที่เท่านั้น

“ท่อน้ำตาอุดตัน เป็นภาวะที่พบค่อนข้างบ่อยในเด็กแรกเกิด อาการแสดงออกคือ มีน้ำตาคลอตา อาจจะมี หรือไม่มีขี้ตาร่วมด้วยก็ได้ เมื่อสงสัยว่าเป็นท่อน้ำตาอุดตันควรพบกุมารแพทย์หรือจักษุแพทย์โดยเร็ว การรักษาเบื้องต้นนั้นทำได้ง่ายและมีจำนวนไม่น้อยที่หายได้เองแต่การรักษาที่ได้ผลดีและแน่นอนคือ การแยง ท่อน้ำตาโดยจักษุแพทย์ซึ่งควรทำก่อนอายุ 1ปี จึงจะได้ผลดี”
ข้อมูลดีๆจาก แผนกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลไทยนครินทร์ 

มาทำความรู้จักกับอาการ ลำไส้อักเสบในเด็ก

เด็กที่มีลำไส้อักเสบจะมีอาการถ่ายอุจจาระผิดปกติ โดยอาจจะถ่ายเป็นน้ำ น้ำปนเนื้อมูก หรือมูกเลือด และอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ไข้ คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ท้องอืด น้ำหนักลด หรือเลี้ยงไม่โต ตัวบวม จากการสูญเสียโปรตีนทางลำไส้ โลหิตจางจากการสูญเสียเลือดทางลำไส้

มาทำความรู้จักกับอาการ ลำไส้อักเสบในเด็ก
ภาพประกอบจาก flickr Tom Godber

การอักเสบของลำไส้ มีสาเหตุหลายประการ ได้แก่

การติดเชื้อซึ่งเป็นได้ทั้งเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว หรือพยาธิ
การแพ้นมวัว หรืออาหารบางชนิด
การอุดตันของลำไส้ใหญ่ในโรค Hirschsprung"s disease ซึ่งมีความผิดปกติของระบบประสาท ในลำไส้ใหญ่ตั้งแต่กำเนิด
ภูมิต้านทานของร่างกายผิดปกติ
ไม่ทราบสาเหตุ เช่น โรค inflammatory bowel disease ซึ่งพบน้อยในคนไทย

เด็กปกติวัยประมาณ 1-2 ปี บางคน อาจมีอาการถ่ายอุจจาระบ่อยและเหลวเป็น ๆ หาย ๆ เฉพาะช่วง เวลากลางวัน เด็กกลุ่มนี้จะมีการเจริญเติบโตปกติ สาเหตุเชื่อว่าเกิดจากลำไส้มีการเคลื่อนไหวมากขึ้น กว่าปกติ โดยที่ไม่มีการอักเสบของลำไส้ ผู้ปกครองควรให้เด็กลดการรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม ที่มีน้ำตาลปริมาณมาก เช่น น้ำผลไม้สำเร็จรูป และรับประทานเนื้อสัตว์และผักให้มากขึ้น

การรักษาภาวะลำไส้อักเสบในเด็ก แบ่งเป็น

การรักษาประคับประคอง

แก้ไขภาวะขาดน้ำ เด็กที่ถ่ายอุจจาระเหลว จะสูญเสียน้ำไปกับอุจจาระ ผู้ปกครองอาจประเมิน ความรุนแรงของการขาดน้ำได้ดังนี้

ขาดน้ำน้อย เด็กจะมีเพียงปากแห้ง กระหายน้ำ โดยที่ไม่มีกระหม่อมบุ๋ม หรือตาลึกโหล
ขาดน้ำปานกลาง เด็กจะมีปากแห้งมาก ผิวหนังแห้งจับตั้งแล้วคืนสู่สภาพเดิมช้ากว่า 2 วินาที ตาลึกโหล
กระหม่อมบุ๋ม ร้องไห้ไม่ค่อยมีน้ำตา กระสับกระส่าย กระหายน้ำมาก ปัสสาวะน้อยลง
ขาดน้ำรุนแรง เด็กจะซึม ปากและลิ้นแห้งมาก ตาลึกโหล กระหม่อมบุ๋มมาก หัวใจเต้นเร็ว มือเท้าเย็น แขนขาลายเป็นจุด ๆ และช็อค

ถ้าเด็กมีการขาดน้ำน้อย ผู้ปกครองอาจให้เด็กดื่มสารละลายเกลือแร่ปริมาณ 50 ซีซี ต่อน้ำหนักตัว เด็ก 1 กิโลกรัม ในระยะเวลา 4 ชั่วโมง ในระหว่างนี้ถ้าเด็กถ่ายอุจจาระเพิ่มขึ้นอีก ต้องให้สารละลายเกลือ แร่เพิ่มขึ้นอีก โดยให้ปริมาณ 10 ซีซี ต่อน้ำหนักตัวเด็ก 1 กิโลกรัม ต่อการถ่ายอุจจาระ 1 ครั้ง ถ้าเด็กมี การขาดน้ำปานกลางหรือรุนแรง ควรนำเด็กมาพบแพทย์เพราะอาจมีความจำเป็นต้องได้รับสารน้ำทาง หลอดเลือด

แก้ไขความผิดปกติของระดับเกลือแร่ในเลือดในกรณีที่มีการขาดน้ำปานกลางหรือรุนแรง

หลังจากที่แก้ไขภาวะขาดน้ำแล้ว ควรให้เด็กรับประทานอาหารและนมโดยไม่จำเป็นต้องเจือจางนม และให้ในปริมาณน้อย ๆ และบ่อย ๆ เพื่อให้ลำไส้ย่อยและดูดซึมอาหารได้ทัน การงดอาหารจะทำให้เด็ก ขาดอาหารเกิดภาวะทุพโภชนาการ เลี้ยงไม่โต และในกรณีที่ลำไส้อักเสบรุนแรง เยื่อบุลำไส้จะฝ่อ การงดอาหารจะทำให้การฟื้นตัวของเยื่อบุลำไส้ช้ากว่าการให้รับประทานอาหาร การรักษาตามอาการ แพทย์อาจให้ยาลดไข้หรือลดอาการคลื่นไส้อาเจียนถ้ามีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย

การรักษาจำเพาะ

แพทย์จะให้ยาฆ่าเชื้อโรคในลำไส้ อย่างไรก็ตามถ้าเด็กมีลำไส้อักเสบจากเชื้อไวรัส ก็ไม่จำเป็นต้อง ได้รับยาฆ่าเชื้อโรค
รับประทานนมพิเศษ ในกรณีที่เกิดจากการแพ้นมวัว หรือลำไส้อักเสบรุนแรงจนเกิดเยื่อบุลำไส้ฝ่อ ทำให้ลำไส้ไม่สามารถดูดซึม น้ำตาลในนมปกติได้
รับประทานยาลดการอักเสบในกรณีที่เป็น inflammatory bowel disease
ถ้าเด็กมีอาการเหล่านี้ควรนำเด็กมาพบแพทย์
ถ่ายอุจจาระจำนวนมาก
อาเจียนซ้ำ ๆ
แสดงอาการกระหายน้ำมาก
ไม่ยอมรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ
ไข้ขึ้นสูง
มีเลือดในอุจจาระ

การป้องกันไม่ให้เกิดภาวะลำไส้อักเสบ ได้แก่

พยายาม ให้เด็กรับประทานนมมารดา เนื่องจากนมมารดามีสาร secretory IgA ช่วยป้องกันไม่ให้ เชื้อโรคเกาะติดกับผนังลำไส้หรือรบกวนการเจริญเติบโตของ เชื้อโรค ถ้าจำเป็นต้องให้เด็กรับประทานนมจากขวดนม ต้องทำความสะอาดขวดนม และจุกนมโดยการต้ม น้ำที่ใช้ผสมนมควรเป็นน้ำต้มสุกรวมทั้งล้างมือให้สะอาดก่อนการเตรียมผสมนม ให้เด็ก

ข้อมูลจาก แผนกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลไทยนครินทร์

วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การสร้างเนื้อเต้านมขึ้นใหม่โดยใช้เนื้อเยื่อตัวเองในการผ่าตัดมะเร็งเต้านม

    ปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในการตรวจเต้านมและการส่งเสริมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ทำให้ค้นพบมะเร็ง        ในระยะแรกๆได้มากขึ้น   และทำให้อัตราการรอดชีวิตสูงขึ้น การผ่าตัดซึ่งเป็นการรักษาหลักได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงจากอดีตที่มุ่งเน้นเพียงการรอดชีวิต เป็นการผ่าตัดที่จะคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและความสวยงามมากขึ้น
           สำหรับในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านมก็เช่นเดียวกัน ไม่มีความจำเป็นต้องถูกตัดเต้านมออกหมดทุกรายหรือในรายที่จำเป็นต้องผ่าตัดเต้านมออก ก็สามารถทำการผ่าตัดสร้างเสริมเต้านมได้ทันทีในการผ่าตัดนั้น ด้วยการใช้เต้านมเทียมหรือการใช้เนื้อเยื่อของตัวผู้ป่วยเอง เนื้อเยื่อที่นิยมได้แก่ กล้ามเนื้อและชั้นไขมันบริเวณหน้าท้อ และกล้ามเนื้อและไขมันบริเวณที่หลัง
 วิธีการผ่าตัด Latissimus Dorsi (LD) flap
         เป็นวิธีที่ใช้ในการผ่าตัดเพื่อสร้างเนื้อเต้านมขึ้นใหม่สำหรับผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านมที่ต้องการทำการผ่าตัดเต้านมออก  ซึ่งวิธีการนี้จะใช้ผิวหนังกล้ามเนื้อ Latissimus Dorsi และไขมันบริเวณหลังมาผ่าตัดตกแต่งเสริมภายหลังการผ่าตัดเลาะเนื้อเต้านมออกทั้งหมด (รูปที่ 1, 2)
                                      
                                                รูปที่                                                               รูปที่ 2
           การผ่าตัดใช้กล้ามเนื้อที่หลังเป็นวิธีหนึ่งที่ทำมากขึ้นในปัจจุบันเนื่องจากผู้ป่วยฟื้นฟูสุขภาพได้เร็วกว่าการใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องเป็นวิธีการที่ปลอดภัยมีผลแทรกซ้อนน้อย ระยะการนอนรักษาตัวอยู่ ร..เทียบเท่ากับการผ่าตัดในมะเร็งเต้านมตามปกติคือประมาณ 3 วัน สามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ทั้งในแง่ตัวผู้ป่วยเอง ครอบครัวและสังคม
            แม้ว่าการผ่าตัดสร้างเต้านมใหม่โดยใช้กล้ามเนื้อและไขมันบริเวณหลัง (LD flap reconstruction) จะดูยุ่งยากเล็กน้อยแต่ก็เพิ่มเวลาในการผ่าตัดไม่มากนัก และเนื่องจากวิธีการนี้ ไม่จำเป็นต้องใช้เต้านมเทียมช่วยเสริม แต่ใช้เพียงแผ่นผิวหนังและชั้นไขมันบริเวณหลังรวมไปถึงกล้ามเนื้อ LD ของตัวผู้ป่วยเองทั้งหมด ดังนั้นผลของการผ่าตัดในระยะยาวแล้ว จะได้ลักษณะของเต้านมที่สร้างขึ้นใหม่ เหมือนเต้านมจริงมากที่สุด ทั้งในด้านรูปร่างและลักษณะเนื้อเต้านมจากการสัมผัส สร้างความพึงพอใจ และความรู้สึกว่ายังมีเต้านมอยู่เช่นเดิมได้เป็นอย่างดี
 หลักเกณท์ในการคัดเลือกผู้ป่วยที่จะทำผ่าตัดสร้างเต้านมใหม่ด้วยการใช้กล้ามเนื้อ Latissimus Dorsi ได้แก่
               1. ผู้ป่วยที่มีเต้านมขนาดเล็กถึงปานกลาง
                    2. ผู้ป่วยที่มีเต้านมหย่อนคล้อย ไม่มาก
                    3. ผู้ป่วยที่ไม่สามารถใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องมาตกแต่งได้ เนื่องจากมีรอยแผลเป็นบริเวณหน้าท้องมาก่อน
                    4. ใช้ผ่าตัดเสริมเพื่อแก้ไขในผู้ป่วยที่เคยผ่าตัดเสริมเต้านมด้วยวิธีอื่นมาก่อน
การเลาะกล้ามเนื้อ LD มีอยู่ 2 วิธี คือ
                    1. Latissimus Dorsi miniflap คือการเลาะเอากล้ามเนื้อLD บางส่วนให้เพียงพอปิด เต้านมยุบผิดรูป (breast defect) หลังทำ lumpectomy 
                                
                                                                        รูปที่ 3                                                                              
                     2. The extended LD flap technique เป็นเทคนิคที่ใช้ในการผ่าตัดทำเต้านมใหม่ทั้งเต้า ซึ่งวิธีการนี้จะใช้กล้ามเนื้อLDมาทั้งหมดรวมทั้งแผ่นผิวหนัง เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ชั้นไขมันรอบๆ ทำให้ได้เนื้อเยื่อปริมาณเพียงพอสำหรับทำเต้านมใหม่ หลังการผ่าตัดเลาะเนื้อเต้านมออกทั้งหมด (รูปที่ 4)
                                        
                                                                                                          รูปที่ 4                                                                                  
 สภาพผู้ป่วยหลังผ่าตัด
      หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะมีแผลผ่าตัดบริเวณเต้านมข้างที่ทำผ่าตัด(รูปที่5)และแผลผ่าตัด donor siteซึ่งเป็นแผลเส้นตรงยาวประมาณ10-15 เซ็นติเมตร(รูปที่6ที่หลังข้างเดียวกับที่ทำผ่าตัดเต้านมออก ซึ่งศัลยแพทย์จะผ่าตัดในแนวบริเวณขอบเสื้อชั้นในเพื่อเน้นความสวยงามของแผลหลังผ่าตัดสามารถใส่เสื้อในปิดรอยแผลผ่าตัดภายหลังแผลหายดีแล้ว และมีท่อระบายน้ำเหลือง 2 สาย จากแผลผ่าตัดเต้านมและแผลผ่าตัด donor site ที่หลัง
                                             
                              รูปที่ 5                                                                             รูปที่ 6
          โดยทั่วไปผู้ป่วยที่รักษาส่วนใหญ่จะนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลภายหลังผ่าตัดประมาณ วันและจำหน่ายกลับบ้านพร้อมท่อระบายน้ำเหลือง และมาติดตามการรักษาหลังจำหน่ายกลับบ้านประมาณ สัปดาห์ สำหรับท่อระบายน้ำเหลืองจะคาไว้ประมาณ 10-14 วัน จึงถอดออก
 ส่วนวิธีการผ่าตัดอีกแบบหนึ่งคือ Transverse Rectus Abdominis Musculocutaneous flap หรือ TRAM flap ภายหลังการผ่าตัดเลาะเนื้อเต้านมออกทั้งหมด
         หมายถึงการผ่าตัดตกแต่งหรือเสริมสร้างเนื้อเต้านมขึ้นใหม่โดยใช้กล้ามเนื้อและชั้นไขมันบริเวณหน้าท้องมาผ่าตัดตกแต่งเสริมภายหลังการผ่าตัดเลาะเนื้อเต้านมออกทั้งหมด (รูปที่ 8)
                  
รูปที่ 7 แสดงวิธีการผ่าตัดโดยใช้กล้ามเนื้อและชั้นไขมันบริเวณหน้าท้อง
        การผ่าตัดใช้กล้ามเนื้อและชั้นไขมันบริเวณหน้าท้อง เป็นวิธีหนึ่งที่ทำมากขึ้นในปัจจุบันเนื่องจากเป็นวิธีการที่ปลอดภัยมีผลแทรกซ้อนน้อย ระยะการนอนรักษาตัวประมาณ 3-5 วัน สามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ทั้งในแง่ตัวผู้ป่วยเอง ครอบครัวและสังคม
 หลักเกณท์ในการคัดเลือกผู้ป่วยที่จะทำผ่าตัดสร้างเต้านมใหม่ด้วยการใช้กล้ามเนื้อ และชั้นไขมันบริเวณหน้าท้อง ได้แก่
            1. เหมาะสมสำหรับเต้านมทุกขนาด ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
            2. ผู้ป่วยที่มีเต้านมหย่อนคล้อยมาก
สภาพผู้ป่วยหลังผ่าตัด
               หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะมีแผลผ่าตัดบริเวณเต้านมข้างที่ทำผ่าตัดและแผลผ่าตัดบริเวณหน้าท้องส่วนล่างสุดซึ่งเป็นแผลเส้นโค้งตามแนวพับของท้องซึ่งศัลยแพทย์จะผ่าตัดในแนวบริเวณหน้าท้องส่วนล่างสุดตามแนวขอบกางเกงในเพื่อเน้นความสวยงามของแผลหลังผ่าตัด อาการปวดสามารถระงับได้ด้วยยาแก้ปวดชนิดฉีดในวันแรกหลังผ่าตัด หลังจากนั้นสามารถระงับด้วยยาแก้ปวดชนิดรับประทาน หลังผ่าตัดไม่เกิน 24-48 ชั่วโมงผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถลุกนั่งบนเตียงและลุกเดินได้ โดยทั่วไปผู้ป่วยจะนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลภายหลังผ่าตัดประมาณ 3-5 วันและจำหน่ายกลับบ้านพร้อมท่อระบายน้ำเหลือง และมาติดตามการรักษาหลังจำหน่ายกลับบ้านประมาณ สัปดาห์
         เมื่อติดตามผลของการผ่าตัดในระยะยาวแล้ว จะได้ลักษณะของเต้านมที่สร้างขึ้นใหม่ เหมือนเต้านมจริงมากที่สุด ทั้งในด้านรูปร่างและลักษณะเนื้อเต้านมจากการสัมผัส สร้างความพึงพอใจ และความรู้สึกว่ายังมีเต้านมอยู่เช่นเดิมได้เป็นอย่างดี (รูปที่ 10,11)
 
รูปที่ 8 แสดงผู้ป่วยหลังผ่าตัดเต้านมขวาด้วยวิธีนี้
 
รูปที่ 9  แสดงผู้ป่วยหลังผ่าตัดเต้านมขวาด้วยวิธีนี้และทำหัวนมขึ้นมาใหม่
 
รูปที่10  แสดงผู้ป่วยหลังผ่าตัดเต้านมขวาด้วยวิธีนี้และทำหัวนมขึ้นมาใหม่ร่วมกับสักสีบริเวณลานนม
         การผ่าตัดสร้างเสริมเต้านมขึ้นมาใหม่โดยใช้เนื้อเยื่อของตัวเอง นอกจากจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายแล้ว ยังช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ต้องทำการผ่าตัดเต้านมออกไป มีความมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น อีกทั้ง ยังช่วยลดปัญหาการผ่าตัดเต้านมหลายๆครั้งได้มากทีเดียว
           ดังนั้นผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ต้องทำการผ่าตัดเต้านมออกและต้องการเสริมสร้างเต้านมใหม่ วิธีการดังกล่าวนี้ จะเป็นอีกหนึ่งวิธีการที่จะช่วยผู้ป่วยได้มาก แต่ต้องไม่ลืมปรึกษาศัลยแพทย์ก่อนถึงผลดีผลเสียของวิธีการแต่ละวิธี
ข้อมูลจาก ศูนย์โรคเต้านม รพ.ไทยนครินทร์

วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

LASIK คืออะไร มาทำความรู้จักกันคะ

 LASIK คืออะไร มาทำความรู้จักกันคะ
ภาพประกอบจาก flickr  Oswaldo Rubio

LASIK สามารถแก้ไขสายตาสั้นและเอียงถาวรได้หรือไม่

การรักษาสายตาด้วยเลสิคสามารถรักษาภาวะสายตาสั้น และเอียงได้อย่างถาวร

การรักษาด้วย LASIK มีโอกาสเกิดผลข้างเคียง และภาวะแทรกซ้อนอะไรบ้าง

อาการตาแห้ง เป็นผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยในช่วง 3-6 เดือนแรก ซึ่งมักจะดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป รักษาโดยการหยอด น้ำตาเทียม การเห็นแสงกระจาย มีโอกาสเกิดได้ 1% มักพบในคนที่สายตาผิดปกติมาก การติดเชื้อ พบน้อยมาก น้อยกว่าการติดเชื้อจากการใส่คอนแทคเลนส์เสียอีก

สายตายาวจากอายุสามารถทำเลสิคได้หรือไม่

สายตายาวตามอายุ เกิดจากความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อที่ใช้ปรับโฟกัสลดลง ดังนั้นจึงไม่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีเลสิค แต่เราสามารถใช้วิธีทางอ้อมที่เรียกว่า Monovision คือ การแก้ไขสายตาในตาข้างเด่นอย่างเต็มที่ และในตาข้างที่ไม่เด่น รักษาให้เหลือสายตาสั้นไว้บ้าง ประมาณ -1.00 ถึง -2.00 เพื่อช่วยในการมองใกล้

LASIK ทำให้ตาบอดได้หรือไม่

จากประวัติตั้งแต่มีการทำเลสิคมายังไม่เคยมีรายงานผู้ป่วยที่ตาบอดจากการทำเสิค

PRK คืออะไร

PRK คือ การแก้ไขสายตาด้วยการขูดผิวกระจกตา แล้วจึงเลเซอร์แก้ไขสายตา ต่างจากเลสิคตรงที่ไม่มีการแยกชั้นกระจกตา ในผู้ป่วยบางรายที่กระจกตาหนาไม่พอที่จะทำเลสิค และสายตาผิดปกติไม่มาก การทำ PRK ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

ข้อมูลจาก ศูนย์เลสิคโรงพยาบาลไทยนครินทร์

ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด เป็นอันตรายหรือไม่ การรักษาทำอย่างไร

ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด
ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด

เด็กเกิดใหม่ส่วนมากจะตัวเหลือง ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดมีทั้งตัวเหลืองมาก และตัวเหลือง ไม่มาก เด็กบางคนอาจต้องได้รับการส่องไฟรักษา เนื่องจากมีระดับตัวเหลืองที่สูงกว่าปกติ คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองคงต้องเกิดคำถามขึ้นมาว่าแล้วตัวเหลืองเกิดจากอะไร รู้ได้อย่างไรว่าลูกตัวเหลือง ภาวะตัวเหลือง เป็นอันตรายหรือไม่ การรักษาทำอย่างไร นมแม่ทำให้ลูกตัวเหลืองหรือไม่

สาเหตุที่ทำให้เด็กตัวเหลือง

สีผิวในเด็กที่เหลืองขึ้นเกิดจากการแตกของเม็ดเลือดแดง ทำให้เกิดสารสีเหลืองที่เรียกว่า “บิลิรูบิน” สารนี้จะอยู่ในกระแสเลือดไปทีตับ อาศัยเอนไซน์ในตับช่วยเปลี่ยนแปลงตามขั้นตอน ก่อนที่จะลงไป ในลำไส้ และขับถ่ายออกมาทางอุจจาระและปัสสาวะ ดังนั้นหากมีภาวะที่มีผลในขั้นตอนใด ๆ ของการกำจัด บิลิรูบินก็ทำให้ทารกตัวเหลืองมากกว่าปกติ

A ภาวะเม็ดเลือดแดงแตกปกติในทารกแรกเกิด พบได้ในทารกทุกคนทำให้ทารกตัวเหลือง เล็กน้อยไม่จำเป็นต้องได้รับการส่องไฟมักเหลืองเมื่ออายุ 3-5 วันแล้วจะค่อยๆเหลืองน้อยลง ภาวะนี้เกิดเนื่องจาก

1. เด็กมีเม็ดเลือดแดงมากกว่าผู้ใหญ่ เด็กมีความเข้มข้นของเลือด 50-60 % ขณะที่ผู้ใหญ่มีความ เข้มข้นของเลือด 33-40 % เมื่อเม็ดเลือดครบอายุก็จะแตก

2. เม็ดเลือดแดงในเด็กมีอายุ 90 วัน ผู้ใหญ่ 120 วัน ดังนั้นเม็ดเลือดแดงจึงอายุสั้นกว่า การแตกจึง มากกว่าเมื่อรวมทั้ง 2 ข้อข้างต้นเป็นสาเหตุของตัวเหลืองในทารกแรกเกิด

B ภาวะตัวเหลืองที่ต้องได้รับการรักษา ถ้ามีภาวะที่มีผลต่อ บิลิรูบินในขั้นตอนต่างๆจะทำให้ทารก มีภาวะตัวเหลืองมากกว่าปกติคือ

1. มีการทำลายเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ สาเหตุมีหลายอย่างเช่น เด็กที่คลอดโดยใช้เครื่องดูดช่วย คลอดจะมีเลือดออกใต้หนังศีรษะเลือดส่วนนี้ทำให้มีเม็ดเลือดแดงที่แตกเพิ่มขึ้น, เม็ดเลือดแดงแตก มากเนื่องจากกรุ๊ปเลือดแม่และลูกไม่ตรงกันพบในแม่เลือดกรุ๊ป O และลูกเป็น กรุ๊ป A หรือ B และภาวะเม็ดเลือดแดงแตกมาก เนื่องจากโรคเลือดคือ โรคทาลัสซีเมีย, โรคขาดเอนไซน์ G6PD ในเม็ดเลือดแดง

2. การทำงานของตับยังไม่สมบูรณ์หรือโรคกรรมพันธุ์บางอย่างของตับ

3. ความผิดปกติที่ลำไส้เช่นภาวะลำไส้อุดตัน ทำให้มีการดูดซึม บิลิรูบินกลับเข้ากระแสเลือดแทนที่ จะขับถ่ายออกไปเด็กจึงตัวเหลือง

การวินิจฉัยโรคตัวเหลือง

1. การสังเกตุสีผิว เด็กจะเริ่มเหลืองที่ใบหน้าก่อน แล้วค่อยค่อยไล่ลงมาที่ลลำตัวไปขาและเท้า ถ้าเหลืองเฉพาะใบหน้าและลำตัว ถือว่าเหลืองไม่มากแต่ถ้าลงมาขาและเท้าถือว่าเหลืองมาก เวลาดูตัวเหลืองในเด็กทารกต้องกดผิวหนังลงดูที่ส่วนที่กดจะเห็นเป็นสีเหลือง เหตุที่ต้องกดผิวหนัง ลงเพราะเด็กตัวแดงทำให้ดูยาก ถ้าดูแล้วเห็นว่าเหลืองไม่มากไม่จำเป็นต้องตรวจเลือด แต่ถ้าเหลือง มากต้องเจาะเลือดตรวจ

2. การเจาะเลือดตรวจระดับตัวเหลือง หรือตรวจระดับบิลิรูบินในเลือด ถ้าระดับสูงต้องรักษา โดยการส่องไฟการเจาะเลือดนี้ สามารถเจาะจากส้นเท้าหรือเจาะจากเส้นเลือดโดยตรง

การส่องไฟ (phototherapy)

เป็นการรักษาภาวะตัวเหลืองในเด็กทารก เนื่องจากแสงสามารถ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ โครงสร้างของโมเลกุลของบิลิรูบิน ซึ่งปกติละลายน้ำไม่ได้ให้กลับกลายมาเป็นสารที่ละลายน้ำได้ สามารถ ขับถ่ายสารนี้ได้ทางปัสสาวะและทางอุจจาระโดยออกมาทางน้ำดี หลังจากส่องไฟจะตรวจระดับตัวเหลือง วันละ1-2 ครั้งถ้าระดับบิลิรูบินลงมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ สามารถหยุดส่องไฟได้

การส่องไฟทำให้เกิดภาวะเหล่านี้ในทารก

ก. ทารกอาจจะมีสีผิวคล้ำขึ้นจากการที่ต้องถูกแสงอัลตราไวโอเลตเป็นเวลานาน

. ทารกอาจถ่ายเหลวจากการที่แสงที่ใช้ในการรักษา ทำให้มีการบาดเจ็บของเยื่อบุลำไส้ ทำให้มี การขาด enzyme lactase เป็นการชั่วคราว และจะดีขึ้นเมื่อหยุดการรักษา

ค. ทารกมีภาวะเสียน้ำมากจากการระเหยของน้ำ เพราะว่าอุณหภูมิรอบตัวของทารกสูงขึ้น จึงจะต้อง มีการทดแทนโดยให้ดื่มน้ำมากขึ้นกว่าเดิม หรือโดยการให้สารน้ำทางหลอดเลือด

ง. ทารกอาจมีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติหรือเป็นไข้ อาจต้องเลื่อนไปให้ห่างทารก

จ. ทารกอาจมีผื่นแดงขึ้นตามตัวเป็นการชั่วคราว

ฉ. ถ้าไม่ได้ปิดตาทารกให้มิดชิด อาจมีการบาดเจ็บเนื่องจากถูกแสงส่องนาน ดังนั้นการดูแลทารก ในช่วงที่รับการส่องไฟ ก็ควรจะปิดตาทารกให้มิดชิดเพื่อป้องกันอันตรายของแสงไฟสู่ดวงตาเด็ก ควรให้ทารกดูดนมมาก ๆ และบ่อย ๆ เพื่องดการเสียน้ำและเพิ่มการถ่ายอุจจาระ ถ้าทารกดูดหรือ รับนม ไม่ได้หรือไม่ได้ดีก็ควรจะให้น้ำเกลือทางเส้นเลือด โดยต้องเพิ่มปริมาณน้ำอีก 30 % ของ ปริมาณปกติในแต่ละวัน

นมแม่ทำให้ลูกตัวเหลืองได้หรือไม่

ในนำนมแม่มีสารบางอย่างที่อาจทำให้ลูกตัวเหลืองได้ แต่ภาวะตัวเหลืองที่เกิดจากนมแม่นั้นไม่ทำให้ ลูกมีอันตราย แต่ถ้าตัวเหลืองมากจริงๆ อาจต้องได้รับการส่องไฟรักษาเช่นเดียวกัน แพทย์อาจให้งดนมแม่ 2 วัน ช่วงเด็กส่องไฟ หลังจากนั้นสามารถให้นมแม่ได้ตามปกติลูกจะไม่กลับมาตัวเหลืองอีก

ภาวะตัวเหลืองมากมีอันตรายหรือไม่

ภาวะที่มีระดับ บิลิรูบินสูงมากเกินไปสารนี้สามารถเข้าไปที่สมองลูกได้ ถ้าระดับบิลิรูบินสูงมากทำให้ เด็กมีอาการทางสมองจากภาวะตัวเหลืองได้(ภาษาอังกฤษเรียกว่า KERNICTERUS) และถ้าบิลิรูบินสูงเกิน 20 อาจมีผลต่อการได้ยินของเด็กได้เหตุผลเหล่านี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องให้ความสนใจและรักษาภาวะ ตัวเหลืองในทารกแรกเกิด

ข้อมูลจากเว็บ โรงพยาบาลไทยนครินทร์

ป้ายกำกับ

รวมบทความสุขภาพ เกร็ดความรู้และเคล็ดลับสุขภาพ ข้อมูลโดยแพทย์และโรงพยาบาลต่างๆ

Recent Posts

Categories

Text Widget

health and care 2day รวมบทความสุขภาพ เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพ การดูแลรักษาสุขภาพ สาระน่ารู้เรื่องสุขภาพ เพื่อคนรักสุขภาพอย่างคุณ

Blog Archive