การผ่าตัดลบรอยสัก และวิธีลบรอยสักแบบต่างๆ |
การผ่าตัดลบรอยสัก
การสัก หมายถึง การนำเม็ดสีต่าง ๆ เข้าสู่ผิวหนังโดยใช้เข็ม หรือของแหลมเล็ก ๆ เข้าสู่ผิวหนัง
เพื่อให้เกิดสีผิวบนผิวหนังนั้น เพื่อประโยชน์ในแง่ความสวยงาม หรือเพื่อประโยชน์ในแง่การแพทย์ หรือเพื่อความเชื่อทางไสยศาสตร์
การสักเพื่อการแพทย์นั้น ได้มีการนำเม็ดสีต่าง ๆ เข้าสู่ผิวหนังภายใต้สภาวะปลอดจากเชื้อโรคต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการปกปิด ทดแทน หรือสร้างเสริมภาวะให้ได้ใกล้เคียงกายวิภาคปกติของมนุษย์ เช่น การสักปานนมในรายที่มีปัญหาสูญเสียเต้านม และได้ทำการผ่าตัดเสริมเต้านมใหม่
ส่วนการสักเพื่อความสวยงาม หรือเพื่อความเชื่อทางไสยศาสตร์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 พวก
พวกมืออาชีพ ซึ่งฝึกมาโดยตรง และมีทักษะในการทำโดยพวกนี้มีรอยสักที่เป็นระเบียบ บอบบาง มีขอบเขตชัดเจน สีเข้ากันได้ดี
พวกมือสมัครเล่น พวกนี้จะมีรอยสักขอบเขตไม่ชัดเจน และรอยสักมักจะหนากว่าปกติ และมีสีแตกต่างกันชัดเจน
การลบรอยสัก : การลบรอยสักมีวิธีการต่างๆ หลายวิธี แต่ละวิธีก็มีข้อดี และข้อเสียที่แตกต่างกันไป
การผ่าตัดออก (SURGICAL EXCISION) : เหมาะในรายเป็นรอยสักที่มีขนาดเล็ก หรือเป็นจุด ๆ จะได้มีแผลที่มีขนาดเล็ก แต่ในรายที่มีรอยสักขนาดใหญ่ อาจจะใช้ตัวขยายเนื้อ (TISSUE EXPANSION) ช่วยเหลือได้
การกรอผิวด้วย เครื่องกรอผิว (DERMABRASION) : ในรายที่เป็นรอยสักมืออาชีพ การใช้ การกรอผิวอย่างเดียว หรือร่วมกับการใช้เกลือแกงบริสุทธิ์จะช่วยให้ได้ผลดี ซึ่งในรายที่สักตื้น ๆ การกรอผิว มากกว่าสองครั้งสามารถให้ได้ผลดีแผลเป็นน้อย ซึ่งในการทำครั้งที่สอง ควรจะรอประมาณ 3 ถึง 6 เดือน
การลอกด้วยสารเคมี (CHEMICAL PELING) : มักใช้กรดบางชนิด หรือสาร PHENOL ทำให้เกิด เป็นรอยแผลไฟไหม้ขึ้นบริเวณรอยสัก แต่วิธีนี้มักจะมีผลแทรกซ้อนสูง จึงไม่ค่อยใช้กัน
การสักเพิ่มขึ้น (OVERTATTOOING OR RETATTOOING)
การลบด้วยไฟฟ้า (ELECTRIC CAUTERY)
การลบด้วยเครื่องเลเซอร์ (LASER BEAM) : ที่นิยมใช้กันได้แก่ Q-SWITCHEDND-YAG และ Q-SWITCHED RUBY LASER ซึ่งมักจะได้ผลดีในรายที่เป็นสีน้ำเงิน และดำ ซึ่งวิธีนี้ได้ผลดี และมีผล ข้างเคียงเช่นกัน ได้แก่ ผิวหนังเป็นรอยริ้ว หรือเป็นรอยด่างขาว
ไม่มีวิธีการลบรอยสัก วิธีใดที่ได้ผลดีเลิศร้อยเปอร์เซ็นต์ ซึ่งแต่ละวิธีก็มีผลข้างเคียงแตกต่างกันไป ดังนั้นควรพิจารณาปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมเป็นกรณีไป
ข้อมูลจากแผนกศัลยกรรม รพ.ไทยนครินทร์