วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
ข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกนั้นใช่การตรวจภายในหรือไม่

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญของการตรวจภายใน ซึ่งประกอบด้วยอีก 2 ขั้นตอน คือ การตรวจโดย การดู การคลำอวัยวะภายนอกและภายในอุ้งเชิงกรานของสตรี และการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมโดยการอัลตราซาวน์ช่องท้องส่วนล่าง การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกนี้ตรวจเพื่อค้นหารอยโรคที่ปากมดลูกตั้งแต่รอยโรคระยะก่อนมะเร็ง หรือมะเร็งปากมดลูกระยะแรกเริ่มซึ่งมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า รอยโรคระยะก่อนมะเร็งและมะเร็งปากมดลูก ส่วนมากมักไม่มีอาการใด ๆ บ่งบอกว่าเป็นโรคนี้ กว่าจะมีอาการมักเกิดการลุกลามจากมะเร็งแล้ว เช่น ตกขาว, เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด, ปวดท้องน้อย, ท่อไตบวมจากการอุดกั้นของมะเร็งที่ลุกลามมาจนอาจเกิดภาวะไตวาย เป็นต้น

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมีวิธีที่ใช้ในการตรวจ ดังนี้

Conventional Pap smear เป็นวิธีที่ใช้ตรวจกันมานานที่สุด โดยจะนำเนื้อเยื่อที่เก็บได้จากปากมดลูกไปตรวจหาเซลล์ผิดปกติ สามารถตรวจหาความผิดปกติได้ประมาณ 50 % Liquid based cytology วิธีที่พัฒนาขึ้นมาจาก Pap smear ให้ตรวจหาความผิดปกติได้ดีขึ้นจากเนื้อเยื่อของปากมดลูก ซึ่งตรวจพบได้ประมาณ 70 % HPV testing คือ การตรวจหาไวรัส HPV สายพันธุ์รุนแรงที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้มาตรวจร่วมกับ วิธีที่ 1 และ 2 เพื่อให้คัดกรองมะเร็งปากมดลูกมีประสิทธิภาพในการตรวจพบความผิดปกติได้เกือบ 100 %

สตรีควรตรวจการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เมื่อ

อายุตั้งแต่ 21-25 ปี หรือมีเพศสัมพันธ์แล้วอย่างน้อย 3 ปี ผู้หญิงที่เคยมีตรวจผิดปกติแล้ว ควรตรวจสม่ำเสมอตามแพทย์นัด ผู้ที่ได้รับ HPV vaccine แล้วยังคงต้องตรวจภายในและคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสม่ำเสมอ เช่นเดียวกับ ผู้ที่ไม่ได้รับ vaccine การตรวจภายในนั้น ควรตรวจทุก 1 ปี ส่วนการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกนั้น อาจตรวจได้ทุก 3 ปี

การคัดกรองมะเร็งปากมดลูกหยุดได้ เมื่อ

เมื่ออายุ 65-70 ปี โดยที่ผลการตรวจคัดกรองปกติ 3 ครั้ง ใน 10 ปี ก่อนหยุดตรวจ ผู้หญิงที่ผ่าตัดเอามดลูกออกแล้ว ร่วมกับมีผลการตรวจก่อนหน้าปกติ

การคัดกรองมะเร็งปากมดลูกนั้นเป็นการตรวจคัดกรองเบื้องต้น แต่ถ้าผลพบความผิดปกติ สงสัยว่ามีการติดเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์รุนแรง รอยโรคระยะก่อนมะเร็ง หรือมะเร็งปากมดลูกระยะแรกที่ไม่เห็นด้วยตาเปล่า ควรกลับมาแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติมโดยการตรวจด้วยกล้องขยายทางช่องคลอด หรือที่เรียกว่า “Colposcopy” สามารถช่วยหารอยโรคผิดปกติที่ปากมดลูก และอาจตัดชิ้นเนื้อเล็ก ๆ ไปตรวจยืนยันวินิจฉัยโรคก่อนจึงจะสามารถพิจารณาการรักษาตามความรุนแรงของโรค เพื่อป้องกันไม่ให้รอยโรคพัฒนากลายเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกได้ในอนาคต

ข้อมูลดีๆจาก โรงพยาบาลธนบุรี

ป้ายกำกับ

รวมบทความสุขภาพ เกร็ดความรู้และเคล็ดลับสุขภาพ ข้อมูลโดยแพทย์และโรงพยาบาลต่างๆ

Recent Posts

Categories

Text Widget

health and care 2day รวมบทความสุขภาพ เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพ การดูแลรักษาสุขภาพ สาระน่ารู้เรื่องสุขภาพ เพื่อคนรักสุขภาพอย่างคุณ

Blog Archive