วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2557

รักษาอาการปวดด้วยการฝังเข็ม ทำได้หรือไม่

รักษาอาการปวดด้วยการฝังเข็ม
รักษาอาการปวดด้วยการฝังเข็ม

อาการปวดเป็นอาการที่พบได้ในคนทั่ว ๆ ไป มีระดับความรุนแรงของความรู้สึกปวดแตกต่างกัน ตั้งแต่ปวดพอรู้สึกรำคาญไปจนถึงปวดอย่างรุนแรง ขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการปวด

ประเภทของการปวด

1. ปวดแบบเฉียบพลัน
2. ปวดแบบเรื้อรัง

อวัยวะที่สามารถเกิดอาการปวด จะเป็นได้ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า โดยอาจจะปวดจากผิวหนัง กล้ามเนื้อ

เอ็น ข้อต่อ กระดูก เส้นเลือด อวัยวะภายใน เช่น กระเพาะอาหาร มดลูก เป็นต้น

หลักการรักษาอาการปวดก็คือ

1. บรรเทาอาการปวดโดยวิธีต่าง ๆ เช่น

ใช้ยา
ใช้วิธีทางกายภาพ เช่น ประคบร้อน-เย็น ใส่เฝือกหรือพันผ้า
ใช้การผ่าตัด
ใช้การฝังเข็ม

2. รักษาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวด โดยเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมกับสาเหตุนั้น ๆ

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้การยอมรับว่าการฝังเข็มสามารถรักษาอาการปวดได้ผลดี โดยสามารถรักษาได้ทั้งอาการปวดแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ซึ่งจะมีการเลือกใช้ตำแหน่งของจุดฝัง เข็มแตกต่างกันตามอวัยวะที่เป็นสาเหตุ ของอาการปวด

การฝังเข็มสามารถรักษาอาการปวดได้เนื่องจาก

1. เพิ่มการหลั่งสารเคมีของร่างกายที่มีฤทธิ์ลดอาการปวด ได้แก่

Serotonin
Norepinephrine
Substance
GABA
Dopomine
ACTH
B-Eudorphin
Enkephatin
Dynorphin

2. เพิ่มการหลั่งสารเคมีของร่างกายที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ได้แก่

Cortisol

3. เพิ่มเลือดไปเลี้ยงเฉพาะที่ เนื่องจากทำให้เกิด vasodilatation เป็นการช่วยระบายของเสียที่ทำให้เกิดอาการปวด และนำสารที่ลดอาการปวดเข้าสู่อวัยวะนั้น

การฝังเข็มเป็นการรักษาอาการปวดโดยไม่ต้องใช้ยา เพื่อหลีกเลี่ยงโอกาสในการแพ้ยา ผลข้างเคียง จากยา และปัญหาการติดยาแก้ปวด รวมทั้งเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่เคยรักษาอาการปวดด้วยวิธีการอื่น ๆ แล้วไม่ได้ผล

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก คลินิกแพทย์แผนจีน รพ.ไทยนครินทร์

ป้ายกำกับ

รวมบทความสุขภาพ เกร็ดความรู้และเคล็ดลับสุขภาพ ข้อมูลโดยแพทย์และโรงพยาบาลต่างๆ

Recent Posts

Categories

Text Widget

health and care 2day รวมบทความสุขภาพ เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพ การดูแลรักษาสุขภาพ สาระน่ารู้เรื่องสุขภาพ เพื่อคนรักสุขภาพอย่างคุณ

Blog Archive