วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

รู้หรือไม่ว่า EQ สำคัญกว่า IQ

พ.ญ.กมลชนก เหล่าชัยศรี จิตแพทย์ศาสตร์เด็กและวัยรุ่น การรู้สึกโกรธเป็นเรื่องไม่ยาก แต่การรู้จักแสดงความโกรธ ให้ถูกคน ถูกความรุนแรง ถูกกาลเทศะ และถูกวิธี เป็นเรื่องยาก
รู้หรือไม่ว่า EQ สำคัญกว่า IQ
รู้หรือไม่ว่า EQ สำคัญกว่า IQ

ปัญหาหนึ่งในหลาย ๆ ปัญหาที่พ่อแม่จะพาลูกมาปรึกษา คือ ปัญหาการเรียนพ่อแม่อยากให้ลูกเรียน เก่งพาลูกมาให้ตรวจระดับสติปัญญา หรือ IQ (Intellectual Quotient) ซึ่งเป็นการวัดความสามารถในการจำ การคิดรวบยอดเชิงวิชาการ เมื่อทราบผลแล้ว พ่อแม่หลายคนจะยึดติดกับผลการตรวจ IQ มาก ถ้าผล การตรวจออกมาว่าIQ สูง ก็ดีใจว่าลูกคงจะสบาย ชีวิตประสบความสำเร็จได้ ถ้าตรวจ IQ แล้วผลออกมา ต่ำกว่าก็มักจะเดือดร้อน หนักใจว่าลูกคงไม่มีวันได้ดี แต่แท้จริงแล้ว อยากให้ทราบว่าการศึกษาช่วงหลัง ๆ พบว่าระดับ IQ เป็นปัจจัยบ่งชี้ ความสุขสำเร็จในชีวิต เพียงแค่ 20 % เท่านั้นเอง ถ้า สังเกตดูเคสที่ประสบ ความสำเร็จในครอบครัว และหน้าที่การงานเมื่อถามย้อนหลังสมัยเรียนไม่จำเป็นว่าต้องเป็นคนที่คะแนน เฉลี่ยสูงที่สุด ในทางกลับกันคนที่เรียนเก่งที่สุด ก็ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จในชีวิตสูงที่สุด ไม่ว่าจะเป็น เรื่องการงาน สังคม หรือครอบครัว มีอะไรอีกที่เป็นปัจจัยบ่งชี้ความสุข ความสำเร็จในชีวิตของคนเรา ลูกหลานของเราช่วงอายุ 5-10 ปี ที่ผ่านมามีการศึกษาและการให้ความสำคัญ เรื่อง EMOTIONAL INTELLIGENCE ซึ่งแปลเป็นไทย หมายถึง ความฉลาดหรือวุฒิภาวะ ทางด้านอารมณ์ การศึกษาบ่งชี้ว่า EI มีผลต่อความเป็นสุขสำเร็จในชีวิต มากกว่าระดับสติปัญญาด้วยซ้ำ ซึ่งเป็นเรื่องดี เพราะระดับ IQ มักจะ กำหนดมาแล้วตั้งแต่เกิด การเลี้ยงดูมีส่วนบ้างแต่ไม่มาก ในขณะที่ EI สอนได้ในทุกคน ทุกวัย ทุกระดับ IQ EMOTIONAL INTELLIGENCE จะได้ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ โดยต้องฝึกตนให้มีข้อ 1 ก่อน จึงจะมีข้อ 2 3 4 และ 5 ตามลำดับเปรียบเสมือน เด็กจะวิ่งได้ต้อง ชันคอ นั่ง คลาน เดิน ได้ก่อนจึงจะวิ่งได้

1. การรู้อารมณ์ตนเอง (KNOWING ONE"S EMOTIONS)

ความสามรถในการรับรู้อารมณ์ของตนเอง ในขณะที่กำลังมีอารมณ์อยู่เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ต่อการเข้าใจตนเอง คนส่วนใหญ่เวลาโกรธมักไม่รู้ตัว แต่จะโวยวายก่อนแล้ว จึงมารู้ตัวทีหลังว่า เมื่อกี้กำลังโมโห อย่างนี้คือไม่รู้อารมณ์ตนเอง การรู้อารมณ์ตนเอง คือต้องรู้ว่าตนเองกำลังโกรธ ในขณะที่กำลังโกรธอยู่ คน ไม่รู้จักอารมณ์ตนเอง มักตกเป็นทาสอารมณ์นั้น ๆ ในขณะที่คนที่รู้ อารมณ์ตัวเองมักเลือกแนวทางชีวิตได้ดีได้ดีกว่าเพราะรู้ตัว มีสติ รู้ความรู้สึกที่แท้จริงของตัวเอง เกี่ยวกับทุก ๆ อย่างไม่ว่าจะหน้าที่การงานหรือครอบครัว การเลี้ยงลูกให้รู้จักอารมณ์ตัวเอง ฝึกได้ตั้งแต่เริ่มรู้ภาษาฟังเราเข้าใจ ถ้าพ่อแม่สังเกตว่าลูกกำลังดีใจ พอใจ ก็สอนให้รู้อารมณ์ โดยบอกว่าหนูดีใจใช่ไหม ดีใจจังเลยนะลูกนะ เวลาสังเกตว่าลูกโกรธก็สอนเขาว่านี่หนูกำลังโกรธ หนูไม่ชอบใช่ไหม กว่าลูกจะเริ่มพูด เขาก็จะมีความเคยชินและทักษะในการตั้งชื่อ และให้ชื่อ อารมณ์ต่าง ๆ ของตนเอง ว่ากำลังโกรธ เสียใจ หรือดีใจก็ตาม

2. การบริหารจัดการอารมณ์ตนเอง (Managing one"s emotion)

การบริหารจัดการอารมณ์ตนเอง หมายถึง การรู้ และให้ความสำคัญอารมณ์ตนเอง และรู้จักปรับ อารมณ์ให้อยู้ในภาวะสมดุล หรือในภาวะที่เหมาะสมกับเหตุการณ์นั่นเอง การมีอารมณ์น้อยเกินไป ทำให้ชีวิตจืดชืด และแล้งความหมาย ส่วนการมีอารมณ์มากจนคุมไม่อยู่ ก็กลายเป็นโรคได้ เช่น โรคซึมเศร้า วิตกกังวล และอื่นๆ การรู้จักปลอบโยน หรือคลายเครียดให้ตนเอง ฝึกได้ตั้งแต่เด็กเล็ก มักจะเรียนรู้การปลอบตัวเองจากการเลียนแบบ วิธีที่พ่อแม่หรือคนเลี้ยงดูปลอบโยนเขา

3. การรู้จักสร้างแรงจูงใจให้ตนเอง (Motivating oneself)

ส่วนที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งของ EI คือ การรู้จักถึงอารมณ์และความต้องการของตนเองเอามา บริหารให้บรรลุถึงจุดหมาย คนเรามีกิเลส ความต้องการ ความปรารถนาทุกคน แต่มักขาดทักษะ ในการให้ได้สนองความต้องการนั้น ๆ อย่างเหมาะสม การมีทักษะในการรอคอย อดทน เพื่อบรรลุ เป้าหมาย ฝึกได้ตั้งแต่เด็ก ๆ เช่น การสอนเด็กอายุ 4 ปี ว่า ถ้าอยากได้ขนมแค่ 1 ชิ้น ก็ให้ได้เลย แต่ถ้าต้องการ 2 ชิ้น ต้องอดทนรอประเดี๋ยวการศึกษาพบว่าเด็กที่รู้จักรอคอย เพื่อจะได้ขนม 2 ชิ้น ประสบความสำเร็จในชีวิตได้ดีกว่า ทั้งในด้านการเรียนและการคบเพื่อน

4. การรู้อารมณ์ผู้อื่น (Empathy)

การรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเราหรือการรับรู้อารมณ์ของผู้อื่นจะช่วยให้คนเราปรับ ตัวได้ดีกว่า ทำให้เป็นคนมีเสน่ห์ มีเพื่อน และมีสายสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ดีกว่า การมี Empathy ยังมีความสำคัญ ต่อการสอนจริยธรรม และการป้องกันการเกิดอาชญากร เพราะอาชญากรรรมมักเกิดจากการที่ อาชญากรไม่เห็นอกเห็นใจเหยื่อของตนนั่นเอง การสอนเด็กให้ทำดี เพราะเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ให้รู้จักเอาใจเพื่อนมาใส่ใจเรา จะช่วยให้เด็กมีเพื่อนและเป็นคนดีของสังคม

5. การรู้จักบริหารจัดการอารมณ์ผู้อื่น (Manging emotions in others)

ความสามารถในการจัดการอารมณ์ผู้อื่น วัดได้จากความสามารถ และทักษะในการทำให้อารมณ์ ของผู้อื่นรู้สึกดีมีความสุข ย่อมเป็นที่ชื่นชอบของผู้อื่น เป็นผู้นำได้ และจะมีประสิทธิภาพในการ บริหารองค์กรและครอบครัวได้ดี เด็กๆ จะฝึกทักษะนี้ได้จากการหัดให้กำลังใจเพื่อน หรือแม้กระทั่ง หัดปลอบใจคนใกล้ตัว เช่น พ่อ แม่ พี่น้อง การที่จะมี EI ฝึกได้ตั้งแต่เล็ก คนโตแล้วก็สอนได้เช่นกัน EI ของแต่ละคนพัฒนาได้ และผู้เขียนอยากจะเชียร์ให้ทุกคนฝึกฝน ให้ตนเองมี EI ให้มาก ๆ เพื่อความสุข และความสำเร็จในชีวิตอย่างแท้จริง

ข้อมูลจาก แผนกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลไทยนครินทร์

ป้ายกำกับ

รวมบทความสุขภาพ เกร็ดความรู้และเคล็ดลับสุขภาพ ข้อมูลโดยแพทย์และโรงพยาบาลต่างๆ

Recent Posts

Categories

Text Widget

health and care 2day รวมบทความสุขภาพ เกร็ดความรู้เรื่องสุขภาพ การดูแลรักษาสุขภาพ สาระน่ารู้เรื่องสุขภาพ เพื่อคนรักสุขภาพอย่างคุณ

Blog Archive